ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้เผยการวิจัยที่ทำให้ทราบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถดูดซับออกซิเจนทางทวารหนักได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตกรรมโตเกียวรู้สึกทึ่งกับวิธีที่สัตว์ทะเลบางชนิดหายใจผ่านลำไส้ในกรณีฉุกเฉินพวกเขาซึงพยายามสามารถพิสูจน์ว่าสัตว์อื่นๆ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างหนูและหมูก็สามารถทำแบบเดียวกันได้ และพบว่าพวกมันทำได้จริง จากนั้นเผยแพร่ผลการวิจัยในวารสาร Med เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
พวกเขากล่าวว่าการค้นพบนี้อาจนำไปใช้กับมนุษย์ที่มีปัญหาทางเดินหายใจในเวลาที่ไม่มีเครื่องช่วยหายใจหรือมีไม่เพียงพอ
เบื้องหลังการค้นพบนี้มาจากหลักการธรรมชาติทั่วๆ ไป ตามหลักการแล้วสัตว์ที่อยู่ในลำดับ (Order) สูงๆ จะหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปและการขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกโดยใช้ปอดหรือเหงือก
อย่างไรก็ตาม สัตว์บางชนิดมีการพัฒนากลไกการระบายอากาศแบบอื่น วงศ์ปลาหมูแท้, ปลาดุก, ปลิงทะเล และวงศ์แมงมุมใยกลมยังสามารถใช้ทวารหนักในการเติมออกซิเจนเพื่อความอยู่รอดในกรณีฉุกเฉิน
วิธีการนี้เรียกว่าการระบายอากาศทางลำใส้ผ่านทางทวารหนักหรือ EVA
"ช่องทวารหนักมีตาข่ายของเส้นเลือดที่ละเอียดอยู่ใต้ผิวของเยื่อบุซึ่งหมายความว่ายาที่ฉีดผ่านทวารหนักจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย" เรียว โอคาเบะ (Ryo Okabe) ผู้นำการวิจัยกล่าว
สิ่งนี้ทำให้ทีมวิจัยสงสัยว่าออกซิเจนจะถูกส่งเข้าสู่กระแสเลือดด้วยวิธีเดียวกันหรือไม่
เพื่อตอบคำถามนี้พวกเขาตัดสินใจที่จะทำการทดลองกับหนูขาวเล็ก, หมู และหนูธรรมดาโดยทำให้พวกมันขาดออกซิเจนก่อน จากนัน้ใช้สองวิธีเพิ่มทดสอบ คือการส่งออกซิเจนเข้าทางทวารหนักในรูปแบบก๊าซและการฉีดสวนด้วยออกซิเจนผ่านเส้นทางเดียวกัน
นักวิจัยได้เตรียมเยื่อบุของทวารหนักโดยการถูเพื่อทำให้เกิดการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งออกซิเจน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเตรียมการดังกล่าวไม่น่าจะปรับใช้ได้กับมนุษย์ พวกเขาจึงลองใช้ perfluorodecalin ที่ให้ออกซิเจนซึ่งเป็นของเหลวที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและอยู่ในขั้นตอนการใช้ทางคลินิก
การส่งออกซิเจนทั้งในรูปของก๊าซและในรูปของเหลวทำให้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นทำให้พฤติกรรมของสัตว์เป็นปกติและยืดอายุการอยู่รอดของพวกมัน
ทีมงานยังยืนยันการปรับปรุงการให้ออกซิเจนในระดับเซลล์ด้วยเทคนิคที่เรียกว่าการย้อมสีด้วยภูมิคุ้มกัน ( immunochemical staining)
พวกเขาเสริมว่าของเหลวจำนวนเล็กน้อยที่ถูกดูดซึมพร้อมกับออกซิเจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายและไม่รบกวนแบคทีเรียในลำไส้ซึ่งแสดงว่าวิธีนี้ปลอดภัย
"ผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจสามารถให้ออกซิเจนช่วยเหลือโดยวิธีนี้เพื่อลดผลกระทบด้านลบของการขาดออกซิเจนในขณะที่กำลังรักษาสภาพร่างกายอยู่" ทาคาโนริ ทาเคเบะ (Takanori Takebe) ผู้ร่วมวิจัยกล่าวเสริม
และทีมงานวิจัยหวังว่าจะนำวิธีการนี้ไปใช้กับมนุษย์ในทางคลินิคได้
เคเล็บ เคลลี (Caleb Kelly) จาก Yale School of Medicine กล่าวว่า กระบวนการ EVA ควรได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง
"นี่เป็นแนวคิดที่ทำให้เกิดการถกเถียงและผู้ที่รู้จักครั้งแรกจะแสดงความประหลาดใจ" เขากล่าว "อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีการพิจารณาบทบาททางคลินิกที่เป็นไปได้และมีการตรวจสอบข้อมูลที่นำเสนอโดยโอคาเบะและคณะ EVA จึงกลายเป็นวิธีการบำบัดที่มีแนวโน้มที่สมควรได้รับความสนใจทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์"
เขากล่าวเสริมว่าเทคนิคนี้สามารถมีบทบาทได้เมื่อขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจดังที่เกิดขึ้นในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน
Photo by Gabriel BOUYS / AFP