อินโดนีเซียเอาจริงดึง GoJek มาช่วยปฏิรูปการศึกษา
กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองที่มีการจราจรติดขัดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากการสำรวจเมื่อปี 2017 โดย TomTom Traffic Index พบว่า จาการ์ตามีปัญหารถติดเลวร้ายที่สุดอันดับที่ 4 ของโลก
มีผู้สันนิษฐานว่า ปัญหารถติดในจาการ์ตาเริ่มขึ้นจากช่วงวิกฤตการเงินของอาเซียนยุค 90 ที่ทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซียตกต่ำ ชาวอินโดนีเซียในชนบทจำนวนมากทิ้งบ้านช่อง เข้ามาหางานเชิงอุตสาหกรรมในเมือง ซึ่งสร้างรายได้มากกว่าทำเกษตรที่บ้านเกิด
ทุกวันนี้แม้วิกฤตการเงินจะสิ้นสุดลงไปแล้ว 12 ปี แต่จาการ์ตาก็ยังเป็นเป้าหมายของการอพยพย้ายถิ่นอย่างไม่หยุดหย่อน
ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไม่ทันคาดคิดคือ ระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่มีจำนวนและประสิทธิภาพไม่เพียงพอรองรับผู้ใช้งาน
“ล็อกซซิม”โชว์ ซิมูเลชั่นฝึกขับรถเสมือนจริง แก้ปัญหาอุบัติภัยทางถนนรัฐบาล เผย แผนงานปี 63 เร่งแก้ปัญหาปากท้อง 5 กลุ่มเป้าหมายถนนโล่ง!ปีใหม่กรุงเทพฯแทบกลายเป็นเมืองร้างการจราจรติดจรวดผู้จึงเริ่มพึ่งพาตัวเองด้วยรถส่วนตัว แต่ราวกับว่ายิ่งซ้ำเติมให้ระบบจราจรเลวร้ายกว่าเดิม สถิติที่พบคือประชาชนใช้เวลาบนท้องถนนเพื่อเดินทางภายในเมืองเฉลี่ย 3-4 ชม.ต่อคนต่อวัน
ขณะที่ความเร็วของการจราจรเฉลี่ยอยู่ที่ 8.3 กม.ต่อชม. ซึ่งมีผู้เปรียบเทียบว่าช้ากว่าการวิ่งบนลู่วิ่งออกกำลังด้วย
อย่างไรก็ดี ที่ๆ มีปัญหาคือ ที่ๆ สร้างโอกาสได้เช่นกัน กลายเป็นที่มาของแอพพลิเคชั่นบริการรถจักรยานยนต์รับจ้าง GoJek (โกเจ็ก) โดยหนุ่มอินโดนีเซียดีกรีนักเรียนนอก นาเดียม มาการิม (Nadiem Makarim) ที่คิดธุรกิจบริการนี้ขึ้นมา หลังกลับจากการเล่าเรียนที่ต่างประเทศได้ไม่นาน ด้วยปัญหาจราจรที่เกินจะรับได้
ในตอนเริ่มต้นธุรกิจนั้น ผู้บริหารวัย 35 ปีเผยว่า ตลอดชีวิตก่อนหน้านี้ เขาคุ้นชินกับประเทศบ้านเกิดกระทั่งถึงชั้นประถมเท่านั้น เพราะตั้งแต่มัธยม ครอบครัวส่งเขาไปเรียนต่อที่นิวยอร์ก ก่อนจะกลับมาเรียนที่โรงเรียนนานาชาติในสิงคโปร์ และกลับไปเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยบราวน์ของสหรัฐอีกครั้ง
หลังจากเรียนจบ มาการิม กลับมาบ้านเกิดอีกครั้ง เพื่อทำงานในบริษัทที่ปรึกษาชื่อดัง McKinsey & Company โดยระหว่างนั้นเขาได้ก่อตั้งองค์กร Young Leaders For Indonesia เพื่ออบรมทักษะต่างๆ อาทิ การแก้ปัญหาและการจัดการให้กับเยาวชนจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
สามปีต่อมา เขาตัดสินใจไปเรียนต่อด้านบริหารธุรกิจที่ ม. ฮาร์วาร์ด และหลังจากเรียนจบไม่นานก็เริ่มฟอร์มทีมกับเพื่อนๆ ทำธุรกิจกันในอินโดนีเซีย โดยมองไปที่ปัญหาหรือความต้องการของคนในประเทศ ซึ่งที่เขาพบคือ การสัญจรที่ปลอดภัย มีมาตรฐาน และสะดวกรวดเร็ว
ในปี 2011 แอพพลิเคชั่น GoJek จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะหรือ “มอเตอร์ไซค์รับจ้าง” ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความรวดเร็วเป็นประกันและไปได้ทุกที่ตรอกซอกซอย ซึ่งเรียกกันว่า โอเจ็ก ในภาษาท้องถิ่น โดยชาว GoJek จะเป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขับขี่ขององค์กรโดยเฉพาะ
หลังระบุจุดหมายที่ต้องการเดินทางและจุดรับผู้โดยสาร ผู้ใช้งานก็ระบุชื่อผู้โดยสารและเบอร์ติดต่อลงไป ซึ่งแอพฯ จะแสดงราคาค่าโดยสารขึ้นมา หากตกลงก็กดยืนยัน เพื่อดูข้อมูลผู้ให้บริการและใช้บริการต่อไป โดยการให้บริการของ GoJek แก้ปัญหาของโอเจ็กได้ทั้งหมด ซึ่งมีการตั้งวินอย่างไม่มีการรับรองจากทางการ จึงไม่สามารถดูแลด้านมาตรฐานของยานพาหนะและความปลอดภัยของการขับขี่ หรือควบคุมอัตราค่าโดยสารที่ยุติธรรม
โกเจ็ค เริ่มให้บริการในเมืองใหญ่ทั่วประเทศ อาทิ จากาต้า บาหลี บันดุง ต่อมามาการิม ยังเพิ่มการบริการส่งอาหารหรือ Go-Food (โกฟู้ด) จากร้านอาหารกว่า 15,000 แห่ง และบริการซื้อของหรือช็อปปิ้งตามคำสั่ง ซึ่งผู้ใช้บริการไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า หากค่าสินค้าไม่เกิน 1 ล้านรูเปีย
ปัจจุบันธุรกิจสยายปีกไปยังเพื่อนบ้านอาเซียนร่วมถึงไทย
ในช่วงแรกนั้น ธุรกิจของนักธุรกิจหนุ่มก็มีอุปสรรครอบด้าน ตั้งแต่การปะทะกับผู้ให้บริการดั้งเดิม การควบคุมคุณภาพของบุคลากรตัวเอง และการจับตาอย่างเข้มงวดของภาครัฐที่บางส่วนก็ไม่พอใจกับธุรกิจของภาคเอกชนรายนี้
ถึงกระนั้น เจ้าตัวก็โฟกัสที่การทำงานของตัวเอง ที่มุ่งหวังจับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งได้รับรางวัลและการชื่นชมในแวดวงธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
แต่จะว่าไม่สนใจรอบข้างเด็ดขาดคงไม่ได้ มาการิม ได้ตอบกลับถึงภาครัฐไปเช่นกันว่า เขายินดีปิดตัว GoJek หากทางการจากาต้าสามารถแก้ปัญหาจราจรได้ ซึ่งเขาท้าทายไว้เลยว่า ทางสว่างที่ชาวอินโดนีเซียเฝ้ารอ ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ภายใน 10 ปีแน่นอน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เริ่มจะดีขึ้น จากการจัดอันดับเมืองที่มีปัญหาจราจรเลวร้ายที่สุดโดย TomTom Traffic Index พบว่าในปี 2019 จาการ์ตามีอันดับที่ดีขึ้น โดยหล่นจากอันดับ 4 ไปอยู่ที่ 7 ชาวเน็ตอินโดเชื่อกันว่านี่อาจเป็นอานิสงส์ของการเปิดให้บริการ MRT ในจาการ์ตา
แต่ Jakarta MRT รองรับผู้โดยสารได้แค่ 90,000 คนต่อวัน เทียบกับจำนวนประชากร 10 ล้านคนในเมืองนี้นับว่าจิ๊บจ๊อยมาก
เราไม่รู้แน่ชัดว่า Gojek มีส่วนช่วยให้การจราจรของที่นี่ดีขึ้นหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ Gojek ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และสยายปีกการลงทุนไปในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงประเทศไทย
ในอีก 10 ปีหากจาการ์ตาแก้ปัญหาจราจรไม่ได้ มาการิมก็ยังไม่ต้องกลืนน้ำลายตัวเอง หากดูตัวอย่างจากกรุงเทพฯ ซึ่งมีนักการเมืองมากหน้าหลายตาให้คำมั่นสัญญาว่าจะแก้ปัญหารถติดให้สำเร็จหากได้รับเลือก จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีใครทำได้
ล่าสุด รัฐบาลอินโดนีเซียเตรียมย้ายเมืองหลวงจากจาร์กาตาไปยังยังเกาะบอร์เนียวเพื่อหนีปัญหาคาราคาซัง ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลก็คงจะทิ้งปัญหาจราจรในจาการ์ตาให้จมปลักอยู่อย่างนี้ต่อไป
แต่อินโดนีเซียไม่ได้สิ้นหวังขนาดนั้น มาการิมวัย 35 ปีเพิ่งจะลาออกจากตำแหน่ง CEO ของ GoJek ไปร่วมคณะรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2019 เพราะผู้นำประเทศต้องการคนรุ่นใหม่มาช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี
และรากฐานการพัฒนาที่ดีที่สุดคือการศึกษา ดังนั้นแทนที่จะนั่งเก้าอี้กระทรวงเทคโนโลยี CEO ของ Gojek จึงรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสานต่อนโยบายของประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ที่มุ่งเน้นสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สุดยอด นั่นคือยอดมนุษย์เทคโนโลยีที่สามารถนำประเทศสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อยู่เสมอ
หากเขาทำสำเร็จ นี่จะเป็นผลงานชิ้นโบแดงเสียยิ่งกว่าให้กำเนิด GoJek เสียอีก