.
มูลนิธิ Thomson Reuters Foundation ได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ในยุคดิจิทัลในปี 2020 ซึ่งแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือ รัฐบาลจะใช้ระบบจดจำใบหน้าเพื่อเฝ้าระวังด้านความมั่นคง ไปจนถึงการเก็บข้อมูลส่วนตัวของเราโดยยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ต เป็นประเด็นร้อนที่ต่อเนื่องมาจากปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ปัญญาประดิษฐ์และกระแสดาต้าอิซึ่มกำลังเข้าครอบงำชีวิตของเราในทุกด้าน
-โฆษณาการเมืองที่ล็อคเป้ามาที่เรา -
แมนธิว ไรซ์ผู้อำนวยการกลุ่ม Open Rights ในสก็อตแลนด์กลาวว่า "ข้อมูลส่วนบุคคลกำลังกลายเป็นหัวใจหลักในการดำเนินการทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ฝ่ายต่างๆ ซื้อชุดข้อมูลเชิงพาณิชย์เพื่อพยายามเข้าถึงคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และทำการตัดสินใจว่าจะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ทางออนไลน์ด้วยวิธีการใด
ธุรกิจโฆษณา
inRead invented by Teadsวิธีการนี้ (targeted political ad) ก้าวล่วงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลและบั่นทอนความเชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่เกิดขึ้นในปี 2020 คาดว่าพรรคการเมืองต่างๆ จะให้ความสนใจกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลและวิธีการใช้งานข้อมูลเหล่านี้อย่างมาก
- โฆษณาที่แอบส่องพฤติกรรมของเรา -
คาโรลินา อิวานสกาทนายความมูลนิธิ Panoptykon กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในเวลานี้มีกระแสร้องเรียนต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกำหนดเป้าหมายการโฆษณาออนไลน์ (Behavioral advertising) โดยมีการร้องเรียนต่อหน่วยงานข้อมูลทั่วสหภาพยุโรปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
หน่วยงานด้านการปกป้องข้อมูลของไอร์แลนด์ได้ทำการสอบสวนว่า Google แอบส่องพฤติกรรมของเราเพื่อใช้ในการโฆษณาหรือไม่ และ บริษัท ICO ของอังกฤษได้ตีพิมพ์รายงานเปิดโปงการกระทำอันเลวร้ายของอุตสาหกรรมโฆษณาในเรื่องนี้
ปี 2020 หน่วยงานต่างๆ จำเป็นจะต้องจัดการกับกรณีเหล่านี้ให้มากขึ้น อาจทำการปรับหรือออกกฎควบคุมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลของผู้คนโดยบริษัทต่างๆ
(Photo by CHARLY TRIBALLEAU / AFP
- การตัดสินใจโดยอัลกอริทึม -
แซนดร้า วอทเชอร์ ศาสตราจารย์แห่งสถาบันอินเทอร์เน็ตออกซ์ฟอร์ด (Oxford Internet Institute) กล่าวว่า ขณะนี้กฎระเบียบด้านการป้องกันข้อมูลทั่วไป (GDPR) ของสหภาพยุโรปมุ่งเน้นไปที่ความโปร่งใสต่อผู้ใช้ ความยินยอมของผู้ใช้ และการแจ้งเตือนผู้ใช้ การรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ แต่ไม่มีระบุว่าข้อมูลของเราถูกประเมินไปอย่างไรหลังจากถูกเก็บข้อมูลไปแล้ว
หมายความว่าผู้ใช้มีสิทธิ์น้อยมากที่จะตั้งคถามหรือโต้แย้งวิธีประเมินผลโดยอัลกอริทึมในการประมวลผลข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากตัวตนดิจิทัลของเราจะเป็นสิ่งที่ชี้นำเส้นทางชีวิตของเราและส่งผลต่อโอกาสในชีวิตของเรา
ในปี 2020 กลุ่มตรวจสอบข้อมูลของสหภาพยุโรปจะเผยแพร่ข้อเสนอแนะหลายประการเกี่ยวกับวิธีปรับปรุงสิทธิ์ของข้อมูล นี่เป็นโอกาสที่ดีมากในการให้คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลง GDPR โดยเสนอแนะการควบคุมเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้อัลกอริทึมประเมินข้อมูลของเรา
Photo by Nicolas ASFOURI / AFP
- เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า -
เจมส์สัน สปิแวก ผู้ช่วยด้านนโยบาย ศูนย์ความเป็นส่วนตัวและเทคโนโลยีประจำศูนย์กฎหมายจอร์จทาวน์ กล่าวว่า "ในปี 2562 เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว เนื่องจากผู้คนตระหนักว่าเทคโนโลยีนี้มีความเสี่ยงต่อสิทธิพลเมืองและเสรีภาพเพียงใด
เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงตอบสนองด้วยการสั่งห้ามใช้และออกกฎระเบียบควบคุมในทุกระดับรัฐบาล การโต้เถียงในเรื่องนี้จะกลายเป็นจุดเดือดในปี 2020
ในสหรัฐอาจมีการออกนโยบายของรัฐบาลกลางรัฐหรือท้องถิ่นใหม่ว่าจะให้หรือไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้การจดจำใบหน้า และอาจมีกฎสำหรับบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี และ/หรือการดำเนินการบังคับกฎหมายควบคุมโดนคณะกรรมาธิการการค้า หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
Photo by David TALUKDAR / AFP
- การใช้เทคโนโลยีชีวมิติ -
คาร์ลี ไนด์ ผู้อำนวยการสถาบัน Ada Lovelace กล่าวว่า ในปี 2020 เทคโนโลยีชีวมิติ (Biometrics) นั้นมีแนวโน้มที่จะได้ถูกตรวจสวอบอย่างเข้มงวดจากหน่วยงานกำกับดูแลในยุโรปและอาจมากกว่านั้น
เรากำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนสำคัญเพราะเกิดความกังวลในหมู่สาธารณชนเกี่ยวกับความแพร่หลายของเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า แม้แต่ในประเทศจีนมีผู้ตอบแบบสอบถามถึง 84% อยากได้โอกาสที่จะตรวจสอบหรือลบข้อมูลใบหน้าของพวกเขาที่ถูกที่รวบรวมไป
ทางการของสหภาพยุโรปได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมีกฎระเบียบด้านการจดจำใบหน้าในปี 2020 ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าสำคัญในการควบคุมอุปกรณ์การจดจำใบหน้าที่ใช้เทคโนโลยี AI ซึ่งจะเปิดตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
Photo by Handout / Press Office of President of Afghanistan / AFP
- การตรวจค้นแบบดิจิทัลทุกซอกทุกมุม -
ซิลกี คาร์โล ผู้อำนวยการองค์กร Big Brother Watch ว่าด้วยเรื่องสิทธิส่วนบุคคลบอกว่า ในโทรศัพท์ของเรามีข้อมูลที่กองเป็นภูเขาเลากา และตำรวจต้องการมันมากขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างการสอบสวนที่ ตั้งแต่ข้อมูลว่าเราไปที่ไหน เราพูดคุยกับใครบ้าง สิ่งนี้เรีกว่า "การตรวจค้นแบบดิจิทัลทุกซอกทุกมุม" (digital strip searches) โดยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมมักจะถูกตำรวจขอให้ส่งมอบโทรศัพท์เพื่อนำมาตรวจสอบ เรื่องนี้เกิดขึ้นทั่วโลก
ในสหราชอาณาจักร เหยื่อที่ถูกข่มขืนจำเป็นต้องให้ตำรวจดาวน์โหลดโทรศัพท์ของตนเป็นประจำ และตำรวจสามารถเก็บข้อมูลเป็นเวลา 100 ปี จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ผู้ตกเป็นเหยื่อถึงเกือบ 50% ไม่ยอมแจ้งความให้ดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำต่อพวกเขา
ซิลกี คาร์โลกล่าว่า ไม่มีกฎหมายในสหราชอาณาจักรที่ให้อำนาจในเรื่องนี้ และเป็นไปได้ว่าเราจะเห็นการเผชิญหน้าระหว่างตำรวจ หน่วยงานกำกับดูแลข้อมูล และผู้สนับสนุนความเป็นส่วนตัวในปี 2020