THAI NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

20 พฤศจิกายน 2561 : 15:31 น.

รพ.พระราม2ไม่รอด สบส.แถลงสรุปผลสอบคดีน้ำกรด พบผิดจริงถึง 5 กรณี สั่งแจ้งความฟ้องร้องทางอาญา

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แถลงข่าวผลสรุปการประชุมคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียน กรณี รพ.พระราม 2 ว่า หลังจากเกิดเหตุเมื่อวันที่ 9 พ.ย. ทาง สบส.ก็ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบทันที ซึ่งพบการกระทำผิด พ.ร.บ .สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 คือ เรื่องดัดแปลงแก้ไขอาคารจอดรถมาเป็นห้องตรวจผู้ป่วยนอกโดย ไม่ขออนุญาต เจ้าหน้าที่ได้สั่งปิดทันทีและให้ดำเนินการแก้ไข ส่วนประเด็นไม่ทำตามมาตรฐาน เข้าข่ายการกระทำความผิดที่มีอัตราโทษสูง จะต้องให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย จึงต้องเอาเรื่อง ของสู่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียน ซึ่งมีกรรมการทั้งหมด 15 คน ส่วนใหญ่ เป็นบุคคลภายนอก และมีฝ่ายกฎหมายของ สบส. รองอธิบดี สบส. และ ผอ.สำนักสถานพยาบาลฯ เข้าร่วม และได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการ รพ.พระราม 2 และ รพ.ที่ เกี่ยวข้องแห่งที่สอง คือ รพ.บางมด มาให้ข้อมูล ใช้เวลาตั้งแต่ 13.00 - 19.00 น. โดยคณะกรรมการฯ ได้ส่งผลการประชุมให้อธิบดี สบส.พิจารณามี 5 กรณี ที่เข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559 ดังนี้

1.กรณีที่พยาบาลวิชาชีพเป็นผู้ตรวจประเมินวินิจฉัยอาการผู้ป่วยและรักษาเบื้องต้นโดยไม่รายงาน แพทย์ คณะกรรมการฯ มีมติเข้าข่ายกระทำผิดเรื่องการไม่ควบคุมและดูแลมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพ ปฏิบัติตามกฎหมายวิชาชีพตัวเอง อาจเข้าข่ายความผิดมาตรา 34 (1) และ (2) มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยมีมติเอกฉันท์ให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ดำเนินคดีต่อผู้ดำเนินสถานพยาบาลในชั้นศาล

2.กรณีพยาบาลให้การตรวจรักษาแล้ว จากการสอบถามพบว่า ได้รายงานผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ผู้ดำเนินการฯ จึงได้สั่งการให้รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล แสดงว่ามีความจำเป็นต้องรับการ ประเมินจากแพทย์ ก่อนที่จะนำผู้ป่วยไปนอน รพ.ตามที่ได้สั่งการ ดังนั้น คณะกรรมการฯ มีมติว่า อาจจะเข้าข่ายไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในโรงพยาบาลปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมายกำหนด เข้าข่ายผิดมาตรา 34 (2) มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โดยให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ดำเนินการสถานพยาบาล

3.ไม่ได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยฉุกเฉิน และการคัดแยกระดับฉุกเฉินตามมาตรฐานที่กำหนด ไว้ อาจเข้าข่ายกระทำผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ พ.ร.บ.สถานพยาบาล มาตรา 35 (3) และ (4) มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คณะกรรมการฯ มีมติให้เปรียบเทียบปรับ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ และผู้ดำเนินการสถานพยาบาล

4.ไม่ได้ดูแลช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยในสภาพอันตรายและต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินให้พ้นขีด อันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและตามประเภทของสถานพยาบาล อาจเข้าข่ายผู้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลไม่ควบคุมให้ดูแลช่วยเหลือเยียวยาตามมาตรา 33/1 โดยเข้าข่ายเอาผิดตามมาตรา 36 วรรค 1 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษผู้รับอนุญาตฯ และผู้ดำเนินการสถานพยาบาล

และ 5.เมื่อรับการช่วยเหลือเยียวยาแล้ว มีการอ้างความต้องการผู้ป่วยเองไปรักษา รพ.แห่งที่สอง เรื่องนี้เข้าข่ายเรื่องส่งต่อโดยไม่เหมาะสม ตามมาตรา 36 วรรค 3 อาจจะมีความผิดตามกฎหมายที่ กำหนดโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแจ้ง โดยให้แจ้งความ ร้องทุกข์กล่าวโทษผู้รับอนุญาตฯ และผู้ดำเนินการสถานพยาบาล

"สุดท้ายแล้วคณะกรรมการฯ มีมติให้แจ้งความร้องทุกข์ทั้งหมด ทั้งเปรียบเทียบปรับและจำคุก หลังจากมีมติแล้ว กองกฎหมายได้ส่งเรื่องมาที่อธิบดีเมื่อช่วงเช้าแล้ว เพื่อให้ความเห็น โดยได้ให้ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ ต่อไป คือ ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนที่ สน.ท่า ข้าม ซึ่งวันนี้จะทำหนังสือและส่งในวันที่ 21 พ.ย.ต่อไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดย พนักงานสอบสวนจะเริ่มเรียกมาสอบสวนตามกฎหมาย ก่อนส่งต่ออัยการ ว่าจะฟ้องประเด็นอะไร และศาลจะให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย เพราะถ้าให้กรมฯ พิจารณาลงโทษเอง ก็เหมือนใช้ ดุลพินิจของกรมฯ อาจไม่ได้ให้ความเป็นธรรมผู้เสียหายได้ ต้องมีกระบวนการยุติธรรมมารองรับ เพื่อให้เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย" นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวและว่า สำหรับการเปรียบเทียบปรับนั้น คณะ อนุกรรมการเปรียบเทียบจะพิจารณาว่า ทั้งหมดปรับเท่าไร โดยจะเสนอวงเงินเปรียบเทียบปรับต่อ คณะกรรมการสอบสวนฯ ต่อไป

นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า อีกกรณีหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับสถานพยาบาล คือ พยาบาลที่ให้การดูแลรักษาและ ยอมรับว่า ไม่ได้รายงานแพทย์เวร กรณีนี้เข้าข่ายเรื่องจริยธรรมประกอบวิชาชีพไม่เป็นตาม มาตรฐานที่กำหนด จะส่งเรื่องนี้ต่อสภาการพยาบาลพิจารณาต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ได้มาจากการซักใน เชิงลึกและตัวพยาบารยอมรับเองว่าไม่ได้รายงาน เพราะเห็นว่าผู้เสียหายขอไปรักษาอีกแห่งตาม สิทธิของตัวเอง อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า มีตารางเวรของแพทย์เวรตามที่ขออนุญาต ทั้งนี้ จากกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นนับจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ วันที่ 9 พ.ย. จนถึงการประชุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย. ก็ใช้เวลาประมาณ 10 วันก็สรุปเรื่องได้

เมื่อถามว่า จากการพิจารณาทั้งหมดสรุปว่า เข้าข่ายปฏิเสธการรักษาหรือไม่ นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ไม่ เข้าข่ายปฏิเสธรักษา เพราะผู้ป่วยขอไปเอง และจากการดูกล้องวงจรปิดก็มีการปฐมพยาบาลเบื้อง ต้น ส่วนที่ขอดูวงจรปิดนั้น เพื่อดูว่าสภาพของผู้ป่วยมาเป็นอย่างไร และไปอีกโรงพยาบาลสภาพ เป็นอย่างไร เข้าข่ายฉุกเฉินหรือไม่ ซึ่งกรณีนี้เข้าข่ายไม่ทำตามมาตรฐาน ในการคัดกรองและแยก ระดับอาการฉุกเฉิน รวมถึงการส่งต่อ ซึ่งจริงๆ จะมีโปรแกรมบันทึกอาการ และให้ข้อมูลเป็น เกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้การตัดสินใจของแพทย์ง่ายขึ้นว่า ผู้ป่วยที่มานั้นอยู่ฉุกเฉินระดับใด ถ้าเป็นสี แดงคือฉุกเฉินวิกฤต ก็จะใช้สิทธิยูเซป ฉุกเฉินวิกฤตรักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ รักษาฟรี 72 ชั่วโมงแรก ได้ กรณีไม่เข้าข่ายฉุกเฉิน ก็ต้องรักษาเบื้องต้นจนผู้ป่วยปลอดภัยและส่งต่อถ้าเกินศักยภาพ

เมื่อถามถึงการปิดห้องผู้ป่วยนอกที่ไม่ได้ขออนุญาต ทาง รพ.พระราม 2 มีการดำเนินการอะไรแล้ว หรือไม่ นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า เราให้แก้ไขภายใน 15 วัน ซึ่งหากไม่ดำเนินการอาจถูกพักใช้ใบอนุญาต ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้มาขอแก้ไข แต่หากมาขอก็จะส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าเป็นตาม มาตรฐานสถานพยาบาลหรือไม่ หากเป็นตามมาตรฐานก็จะเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการสถาน พยาบาล ซึ่งจะอนุมัติหรือไม่ขึ้นกับการตรวจสอบสถานที่ ส่วนบางอย่างที่ทำไม่ได้มาตรฐาน เช่น การส่งต่อ ก็มีคำสั่งทางปกครองให้แก้ไขภายใน 15 วัน กรณีอื่นก็ต้องช่วยเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิด

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ