WORLD NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

21 มิถุนายน 2564 : 12:51 น.

คำเตือนนี้มีไปถึงประเทศเอลซัลวาดอร์ที่เดินหน้าจะใช้ Bitcoin ในระบบเศรษฐกิจอยางถูกกฎหมายประเทศแรกของโลก

สตีฟ แฮงค์ (Steve Hanke) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่ Johns Hopkins University และผู้ช่วยปฏิรูประบบการเงินของหลายๆ ประเทศแสดงความเห็นเกี่ยวกับการที่เอลซัลวาดอร์จะใช้ Bitcoin อย่างถูกกฎหมยประเทศแรกของโลก โดยแฮงค์ บอกมันไม่ใช่ความคิดที่ดีและกล่าวว่ามันอาจ "ทำให้เศรษฐกิจพังทลายลงอย่างสิ้นเชิง"

แฮงค์บอกว่าถึงแม้ว่าเอลซัลวาดอร์จะประกาศให้ Bitcoin มีสถานะทางการเงินอย่างถูกกฎหมายแต่ Bitcoin จะยังคงไม่ถูกใช้ในการทำธุรกรรมประจำวันเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของเอลซัลวาดอร์ไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมของ Bitcoin จะสูงเมื่อแปลงเป็นดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสกุลเงินที่เอลซัลวาดอร์ใช้เพราะไม่มีสกุลเงินของตนเอง

“มันมีศักยภาพที่จะพังทลายทางเศรษฐกิจได้อย่างสมบูรณ์เพราะเงินดอลลาร์ในเอลซัลวาดอร์ทั้งหมดอาจถูกดูดกลืน และไม่มีเงินในประเทศ พวกเขาไม่มีสกุลเงินในประเทศ คุณจะไม่จ่ายค่าแท็กซี่ด้วย Bitcoin หรอกมันเป็นเรื่องตลก […] คุณมีคน 70% ในเอลซัลวาดอร์ที่ไม่มีแม้แต่บัญชีธนาคาร" แฮงค์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์กับเดวิด ลินแห่ง Kitco

เขายังบอกด้วยว่าปัญหาใหญ่ของคริปโตโดยทั่วไปคือเราไม่สามารถแปลงเป็นเงินที่ถูกกฎหมายที่แท้จริงซึ่งใช้งานได้ในราคาถูกและรวดเร็ว "คุณไม่สามารถแปลง Bitcoin เป็นดอลลาร์สหรัฐในราคาถูกและง่ายดาย" แฮงค์ยังยกตัวอย่างอีกประเทศ โดยเขาได้แชร์บทความบน Twitter ที่เขียนโดย Terence Zimwara ผู้เขียนข่าว Bitcoin.com บทความอธิบายว่าธนาคารกลางของไนจีเรีย (CBN) ได้หารือเรื่องที่จะใช้สกุลเงินดิจิทัลภายในสิ้นปีนี้ แต่แฮงค์มีความเห็นพ่วงบทความนี้โดยชี้ว่ามันจะทำให้ให้เศรษฐกิจพังพินาศเหมือนกับเอลซัลวาดอร์

"หากแผนของไนจีเรียสำหรับสกุลเงินดิจิทัลเป็นเหมือนแผน Bitcoin ของเอลซัลวาดอร์ มันจะล้มเหลว แทนที่จะล้อเล่นกับความคิดบ้าๆ บอๆ ไนจีเรียจำเป็นต้องจัดตั้งคณะกรรมการสกุลเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเช่นเดียวกับที่เคยมีระหว่างปี 1913-1959"

แฮงค์ดูเหมือนจะให้น้ำหนักกับคณะกรรมการสกุลเงิน (Currency boards) ที่อิงสกุลดอลลาร์สหรัฐก้เพราะเชขาทำงานสายนี้มานาน ซึ่งคณะกรรมการสกุลเงินคือหน่วยงานทางการเงินที่ออกสกุลเงินท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่โดยสกุลเงินสำรองต่างประเทศ และสามารถแปลงได้อย่างอิสระด้วยสกุลเงินสำรองต่างประเทศที่อัตราแลกเปลี่ยนคงที่

นอกจากนี้ แฮงค์ยังเคยทำการวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการพึ่งพาเงินดอลลาร์ (dollarization) โดยที่ประเทศหนึ่งแทนที่สกุลเงินในประเทศด้วยสกุลเงินต่างประเทศที่มีเสถียรภาพ เช่น ดอลลาร์ และสร้างระบบการเงินอัตราแลกเปลี่ยนคงที่โดยพฤตินัยระหว่างสองประเทศ หนึ่งในประเทศที่ใช้วิธีนี้คือเอลซัลวาดอร์ แต่ตอนนี้เอลซัลวาดอร์กำลังแยกตัวไปใช้ Bitcoin พร้อมๆ กับ dollarization และในปีนี้ ครอบรอบ 20 ปีที่เอลซัลวาดอร์หันมาใช้วิธี dollarization พอดี

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ