สรุปบทความของหนังสือพิมพ์ The New York Times ที่รายงานว่า "เหตุใดเอเชียแชมป์เปี้ยนผู้ตต้านทานโรคระบาด จึงอยู่ห่างจากเส้นชัยอีกหลายไมล์"
The New York Times ชี้ว่าทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศต่างๆ ที่เป็นผู้นำโลกในการควบคุมไวรัสโคโรน่าก่อนหน้านี้ ตอนนี้กำลังอ่อนระโหยโรยแรงในการสกัดกั้นการระบาดที่หนักหน่วงอย่างมาก ในขณะที่สหรัฐซึ่งประสบกับการระบาดที่รุนแรงกว่านั้นมาก ตอนนี้กำลังใช้ชีวิตตามปกติเพราะขับเคลื่อนด้วยการฉีดวัคซีน
ผู้เขียนชี้ว่าตอนนี้ทางตอนใต้ของจีน การแพร่กระจายของสายพันธุ์เดลต้านำไปสู่การล็อกดาวน์อย่างกะทันหันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในกว่างโจว เมืองหลวงทางอุตสาหกรรมที่สำคัญ ส่วนไต้หวัน เวียดนาม ไทย และออสเตรเลีย ต่างก็ล้อคดาวน์เช่นกันหลังจากการระบาดครั้งล่าสุด ขณะที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับความเหนื่อยล้าจากการระบาดระลอกที่สี่ จนหวั่นว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอาจไม่รอด
ในด้านเศรษฐกิจ ภูมิภาคนี้สามารถรับมือกับโรคระบาดได้ค่อนข้างดี เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการจัดการระยะแรก แต่เพราะผู้คนหลายร้อยล้านที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนและผู้นำต่างๆ ที่ตัดสินใจที่ปิดพรมแดนระหว่างประเทศทำให้ประชาชนเริ่มทนไม่ไหว บวกกับสายพันธุ์ใหม่ๆ ทวีความรุนแรงให้กับภัยคุกคาม
ในบางประเทศ เช่น เวียดนาม ไต้หวัน และไทย การรณรงค์ฉีดวัคซีนแทบไม่มีการดำเนินการ ประเทศอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลียมีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังคงห่างไกลจากการฉีดวัคซีนให้กับทุกคนที่ต้องการ
ผู้เขียนชี้ว่าการล็อคดาวน์เอเชียกับจำนวนประชากร 4,600 คนจะสร้างความเสียหายใหม่ต่อเศรษฐกิจ ผลักดันผู้นำทางการเมือง และเปลี่ยนแปลงพลวัตของอำนาจระหว่างประเทศต่างๆ ตรงกันข้ามกับสหรัฐที่ตอนนี้ "ชาวอเมริกันเฉลิมฉลองสิ่งที่รู้สึกเหมือนรุ่งอรุณใหม่"
ความเสี่ยงในเอเชียมีที่มามาจากการตัดสินใจเมื่อหลายเดือนก่อน ก่อนที่โรคระบาดใหญ่จะก่อให้เกิดผลสะเทือนครั้งใหญ่ที่สุด ผู้เขียนชี้ว่า ต้นในฤดูใบไม้ผลิของปีที่แล้ว สหรัฐและหลายประเทศในยุโรปเดิมพันครั้งใหญ่กับวัคซีน การอนุมัติอย่างรวดเร็ว และการใช้เงินหลายพันล้านเพื่อรับประกันให้ได้มาซึ่งการผลิตชุดแรก เพราะในสหรัฐเพียงประเทศเดียว ผู้คนหลายพันคนเสียชีวิตทุกวัน เนื่องจากการจัดการโรคระบาดของประเทศล้มเหลวอย่างร้ายแรง
แต่ในเอเชียแปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน อัตราการติดเชื้อและการเสียชีวิตยังค่อนข้างต่ำด้วยข้อจำกัดเรื่องพรมแดน การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันไวรัสของสาธารณชน และการทดสอบอย่างกว้างขวางและการติดตามผู้ติดต่อ ด้วยสถานการณ์ไวรัสส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุม และด้วยความสามารถที่จำกัดในการพัฒนาวัคซีนในประเทศ จึงมีความเร่งด่วนน้อยกว่าในการสั่งซื้อจำนวนมาก
จนเมื่อต้นปีนี้ การประกาศสัญญากับบริษัทและประเทศต่างๆ ที่ควบคุมวัคซีนนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องทำกันไปอยางนั้นโดยไม่มีการส่งมอบจริง ในเดือนมีนาคม อิตาลีสกัดกั้นการส่งออกวัคซีนแอสตร้าเซเนกาจำนวน 250,000 โดสสำหรับออสเตรเลียเพื่อควบคุมการระบาดที่ลุกลามของตัวเอง การจัดส่งอื่นๆ ล่าช้าเนื่องจากปัญหาด้านการผลิต
จากปัญหาเรื่องนี้และภาวะแทรกซ้อนของก้อนเลือดซึ่งเกิดขึ้นจากวัคซีนแอสตร้าเซเนกา (AstraZeneca ) นักการเมืองจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้พยายามเน้นแต่เนิ่นๆ ว่าไม่จำเป็นต้องรีบเร่งในการฉีดวัคซีน
ในเอเชีย ผู้คนประมาณ 20% ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โด๊ส เช่นญี่ปุ่นมีเพียง 14% ที่ได้รับวัคซีน ในทางตรงกันข้าม ตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่เกือบ 45% ในฝรั่งเศส มากกว่า 50% ในสหรัฐและมากกว่า 60% ในสหราชอาณาจักร
ในขณะที่การฉีดวัคซีนล่าช้าทั่วเอเชีย การกลับมาเปิดประเทศใหม่อย่างแข็งแกร่งก็จะล่าช้าเช่นกัน ออสเตรเลียส่งสัญญาณว่าจะปิดพรมแดนต่อไปอีกปี ญี่ปุ่นห้ามคนต่างชาติเกือบทั้งหมดเข้าประเทศ และการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศในจีนทำให้ธุรกิจข้ามชาติขาดแคลนพนักงานที่สำคัญในสายงาน
ในเวลาเดียวกัน การเก็บรักษาวัคซีนในเอเชียกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะต้องดวัคซีนก่อนที่จะหมดอายุ ไม่ใช่แค่ในจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น อินโดนีเซียขู่ประชาชนด้วยค่าปรับประมาณ 450 ดอลลาร์สหรัฐฐานปฏิเสธวัคซีน เวียดนามตอบสนองต่อการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้โดยขอให้ประชาชนบริจาคเงินเข้ากองทุนวัคซีน และในฮ่องกง เจ้าหน้าที่และผู้นำธุรกิจต่างเสนอสิ่งจูงใจต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาความลังเลใจในวัคซีนขั้นรุนแรง
ผู้เขียนของ The New York Times ชี้ว่า "การพยากรณ์โรคสำหรับภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ในปีนี้นั้นชัดเจนมาก: โรคนี้ยังไม่หายขาด และคงไม่หายไปในเร็วๆ นี้ แม้แต่ผู้ที่โชคดีพอที่จะได้รับวัคซีนก็ยังจะเกิดความรู้สึกสับสนแบบคาดเดาอะไรไม่ถูก"
Photo by STR / AFP