WORLD NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

17 กุมภาพันธ์ 2564 : 19:22 น.

ทีมนักวิทยาศาสตร์รัสเซียสกัดเชื้อไวรัสยุคก่อนประวัติศาสตร์จากซากสัตว์อายุ 50,000 ปีที่แช่แข็งอยู่ใต้ชั้นดินแข็งออกมาศึกษา

ทีมนักวิทยาศาสตร์รัสเซียภายใต้ความร่วมมือของศูนย์วิจัยไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพเวคเตอร์ และมหาวิทยาลัย North-Eastern Federal ในเมืองยาคุตสก์ ลงมือสกัดเชื้อไวรัสยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่ในซากสัตว์อายุราว 50,000 ปีที่ถูกแช่แข็งอยู่ใต้ชั้นดินเยือกแข็ง หรือ permafrost เพื่อระบุตัวไวรัสดึกดำบรรพ์และศึกษาวิวัฒนาการของไวรัส

เบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์ลงมือวิเคราะห์เนื้อเยื่ออ่อนที่สกัดมาจากซากม้าดึกดำบรรพ์ที่คาดว่ามีอายุราว 4,500 ปี ซึ่งถูกพบเมื่อปี 2009 ที่สาธารณรัฐยาคูเตียในภูมิภาคไซบีเรียของรัสเซีย

นอกจากนี้ จะศึกษาไวรัสจากซากแมมอธ กวางเอลค์ สุนัข นก กระต่าย และสัตว์ดึกดำบรรพ์อื่นๆ ซึ่งซากที่มีอายุมากที่สุดอายุถึง 50,000 ปี

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญเคยเตือนว่า การขุดย้อนกลับไปยังอดีตอาจมีความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสโบราณจะหลุดออกมาก่อโรค

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพเวคเตอร์เคยถูกใช้เป็นที่วิจัยไวรัสชีวภาพในสมัยสหภาพโซเวียต โดยปัจจุบันศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นผู้พัฒนาวัคซีนต้าน Covid-19 ที่ชื่อว่า EpiVacCorona ของรัสเซียซึ่งมีแผนจะผลิตสู่ท้องตลาดเร็วๆ นี้

Photo by Handout / North-Eastern Federal University in Yakutsk / AFP

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ