WORLD NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

21 มิถุนายน 2563 : 16:39 น.

ไม่เฉพาะแค่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีโอาสชมสุริยคราสในวันที่ 21 มิ.ย.2020 ยังมีอีกหลายมุมของโลกมีโอกาสได้ชมปรากฎการณ์นี้พร้อมๆ กัน

ความ

พิเศษของสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2020 ก็คือในเกิดขึ้นวันที่ซีกโลกเหนือที่มีช่วงเวลาตอนกลางวันยาวนานที่สุดหรือวัน "ครีษมายัน" เกิดขึ้นเมื่อขั้วโลกเหนือโลกเอียงไปทางดวงอาทิตย์มากที่สุด

สุริยุปราคาครั้งนี้จะไม่เกิดเคราสเต็มดวงแต่จะมีลักษณะเป็นวงแหวน หรือ "วงแหวนแห่งไฟ" (ring of fire) โดยคราสจะปรากฏครั้งแรกในสาธารณรัฐคองโกตะวันออกเฉียงเหนือ เวลา 05:56 ตามเวลาท้องถิ่น (ประมาณ 12.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) เพียงไม่กี่นาทีหลังจากพระอาทิตย์ขึ้นที่คองโก และมีระยะเวลากินคราสสูงสุดของสุริยุปราคาครั้งนี้ นาน 1 นาทีและ 22 วินาที

เมื่อคราสเคลื่อนไปทางตะวันออกทั่วแอฟริกามาถึงเอเชียมันจะเกิด "วงแหวนแห่งไฟ" ด้วยรัศมีสุริยะที่สมบูรณ์แบบรอบดวงจันทร์ เหนือรัฐอุตตราขัณฑ์ของประเทศอินเดียใกล้กับชายแดนจีน-อินเดียเวลา 12:10 น. ตามเวลาประเทศอินเดีย (ราว 13.20 น. ตามเวลาประเทศไทย) จุดที่มองเห็นฝั่งประเทศจีนคือเขตงารี ในเขตปกครองตนเองทิเบต 

ภาพประกอบหลักของคราสเกือบจะเป็นวงแหวน แต่ยังไม่สมบูรณ์ มองเห็นได้ที่เขตอวี๋หลินของไต้หวัน

คราสไม่เต็มรูปวงแหวน ถ่ายที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ภาพโดย Jewel Samad / AFP

คราสกินดวงแค่ครึ่งเดียว ถ่ายที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ภาพโดย YASUYOSHI CHIBA / AFP

คราสกินดวงอาทิตย์เป็นรูปเหมือนจันทร์เสี้ยว ที่กรุงซานา ประเทศเยเมน ภาพโดย Mohammed HUWAIS / AFP

คราสรูปหวงแหวนแห่งไฟ ที่เขตงารี เขตปกครองตนเองทิเบต ภาพจาก "จงกั๋ว เทียนชี่"

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ