รายงานระบุว่าอุณหภูมิสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการติดต่อ Covid-19 อย่างมีนัยสำคัญ โดยไวรัสมีความไวสูงต่ออุณหภูมิสูง
การศึกษาโดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น ในกว่างโจว เมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้งของจีนตอนใต้ระบุว่าเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่มีความเปราะบางอย่างมากต่ออุณหภูมิร้อน และระบาดได้เร็วที่สุดที่อุณหภูมิ 8.72 องศาเซลเซียส
ทีมงานวิจัยพยายามที่จะศึกษาว่าไวรัสได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและอุณหภูมิอย่างไร และเผยแพร่ผลการวิจัยเมื่อเดือนที่แล้วแม้ว่าจะยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยนักวิจัยอื่นๆ อย่างเป็นวิชาการเบื้องต้นรายงานระบุว่า ความร้อนมีบทบาทสำคัญในการทำงานของไวรัส
รายงานระบุว่า “อุณหภูมิสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบบการติดต่อ Covid-19 อย่างมีนัยสำคัญ โดยไวรัสมีความไวสูงต่ออุณหภูมิสูง ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้มันระบาดในประเทศร้อน แต่ในประเทศที่มีสภาพอากาศที่เย็นกว่าจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม
รายงานจึงแนะนำว่า ประเทศและภูมิภาคที่มีอุณหภูมิต่ำควรจะใช้มาตรการควบคุมที่เข้มงวดที่สุด
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยคนอื่นๆ ชี้อุณหภูมิเพียงอย่างเดียวยังไม่ใช่ตัวชี้ขาดรูปแบบการระบาด เพราะยังเกี่ยวข้องกับระดับความชื้นด้วย เช่น นักระบาดวิทยา Marc Lipsitch จากสถาบัน T.H. Chan School of Public Health แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า การระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสเกี่ยวข้องกับระดับความชื้นที่ต่างกันไป ตั้งแต่ในพื้นที่หนาวและแห้งไปจนถึงพื้นที่ชื้อและร้อน
รายงานฉบับหนึ่งซึ่งเผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์และกำลังรอการตรวจสอบจากนักวิชาการเช่นเดียวกันระบุว่า “สภาพอากาศเพียงอย่างเดียว (เช่น) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ และการเพิ่มขึ้นของความชื้นเมื่อฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนมาถึงในซีกโลกเหนือ ไม่ได้หมายความว่ากรณีการติดเชื้อจะลดลงโดยไม่ต้องดำเนินการแทรกแซงด้านสาธารณสุขในวงกว้าง”