WORLD NEWS

โดย กองบรรณาธิการ M2F

19 มกราคม 2563 : 20:13 น.

.

ชาวบ้านในหมู่บ้านปาลาเมทู แถบชานเมืองมทุราย รัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้ของอินเดียเฉลิมฉลองเทศกาลการเก็บเกี่ยวพืชผล หรือเทศกาลโปงคัล ด้วยการจัดงานปล้ำวัวขึ้น

เทศกาลโปงคัล หรือไทโปงคัลเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดฤดูหนาวและการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน จักราศีย้ายมายังราศีมังกร หรือ "มกรสังกรานตะ" ในปี 2563 ตรงกับวันที่ 15 มกราคม

เทศกาลโปงคัลมีกิจกรรมพิเศษมากมาย หนึ่งในนั้นคือ "ชัลลิกัตตู" หรือการปล้ำวัว นิยมเล่นกันที่เมืองมทุราย, เมืองติรุจิระปัลลี และเมืองตันชาวูร โดยจะเล่นปล้ำกันในช่วงเที่ยงหรือช่วงเย็น วิธีการเล่นคือจะผูกเงินไว้ที่เขาวัว แล้วพวกหนุ่มๆ จะพยายามปล้ำวัวเพื่อหยิบเงินรางวัลนั้นมาให้ได้

การปล้ำสู้วัวกระทิงถูกจัดขึ้น ณ สถานที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน ผู้คนจำนวนมากจะมารวมตัวกันเพื่อเป็นสักขีพยานการต่อสู้ โดยจะทำลานตรงกลางกั้นด้วยรั้วสูงประมาณ 9.1 เมตร

วัวที่นำมาปล้ำได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษสำหรับโอกาสนี้ และจะถูกนำมาเข้าสังเวียนต่อสู้ทีละตัว เมื่อเริ่มการปล้ำ เด็กหนุ่มของหมู่บ้านจะพยายามคว้าวัวที่เขาหรือคอหรือหางและยึดมันเอาไว้ให้มั่นที่สุด หากผู้ชายหนุ่มถูกวัวสลัดออกไปหรือบาดเจ็บสาหัสจะไม่มีการมอบรางวัลใดๆ แก่พวกเขา

การปล้ำวัวมีความเสี่ยงมาก จนเกิดกรณีชายหนุ่มเสียชีวิต ศาลฎีกาของอินเดียมีคำสั่งให้หยุดเทศกาลนี้เพราะถือว่าไร้มนุษยธรรมเป็นอันตราย โดยผู้ยื่นคำร้องต่อศาลยังระบุว่าเทศกาลนี้ล้าหลังและละเมิดสิทธิสัตว์และส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอินเดียในฐานะประเทศที่ทันสมัย

Photo by Arun SANKAR / AFP

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ