จัดอบรมฆราวาสทำหน้าที่เป็นธรรมทูตครั้งแรกในโลก เพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยพระธรรมทูตไทยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
โดย สมาน สุดโต
นายสมหมาย สุภาษิต เจ้าหน้าที่แผนกประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ รานงาน จากประเทศนอรเวย์ว่า คณะอาจารย์จาก มจร.และพระธรรมทูตไทยในยุโรป ธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธ ในต่างประเทศ ที่วัดไทยนอร์เวย์ ออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยมี ชาวพุทธไทยและคนท้องถิ่นจำนวน 328 จาก 11 ประเทศในยุโรปเข้าอบรมซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในโลกที่มีโครงการนี้ ผู้เข้าอบรมนอกจากได้รับการยกย่องว่าเป็นการอบรมธรรมทูตคฤาหัสถ์แล้ว ยังรับภาระหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนาด้วย
พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ มจร. กล่าวว่า จากความสำเร็จครั้งนี้มีแผนจัดอบรมครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ.2563 ที่วัดพุทธวิหาร ประเทศเนเธอร์แลนด์
พระวิมลศาสนวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยนอร์เวย์ รองประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในยุโรป กล่าวว่า การเผยแผ่พุทธศาสนาในยุโรป ของคณะพระสงฆ์ได้รับความอุปถัมภ์จากคฤหัสถ์มาก่อนแล้ว เมื่อไดัรับการอบรมเป็นธรรมทูตคฤหัสถ์ เพิ่มเติมจึงเป็นการเพิ่มความเก่ง และศักยภาพของโยมคฤหัสถ์ให้มากยิ่งขึ้น
ขณะที่ชาวพุทธไทยในยุโรปตื่นตัวช่วยเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนาเข้าอบรมธรรมทูตคฤหัสถ์
พระราชปริยัติกวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) มอบหมายให้ พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ปฏิบัติหน้าที่แทนในการเปิดการอบรม “ธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธในต่างประเทศ” ณ วัดไทยนอร์เวย์ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง วิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไทยนอร์เวย์ สหภาพรพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป (สธย) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และสมาคมชาวพุทธไทยในนอร์เวย์
ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการจัดการอบรมชาวพุทธคฤหัสถ์ ให้ทำหน้าที่เป็นธรรมทูตเพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยพระธรรมทูตไทยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยมีชาวพุทธจำนวนกว่า 328 คน ใน 11 ประเทศ คือ นอร์เวย์ ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษอเมริกา ออสเตรีย สวีเดน เยอรมนี สวิสเซอร์แลนด์ และไทย สนใจเข้าร่วมอย่างล้นหลาม
สำหรับ การอบรมครั้งนี้นอกจากจะเป็นการให้ความรู้ในเรื่องพระพุทธศาสนา การทำหน้าที่ธรรมทูตในรูปแบบคฤหัสถ์แล้ว ยังเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติและให้กำลังใจชาวพุทธ ที่ช่วยดูแลพระสงฆ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อุปัฏฐากพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากประเทศไทย เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน ซึ่งพระสงฆ์หรือพระธรรมทูตที่ออกเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่นั้นล้วนเป็นที่พึ่งทางใจของชาวไทยในแต่ละประเทศ ซึ่งในแต่ละประเทศที่พระสงฆ์ไปอยู่และสร้างวัดขึ้นในประเทศนั้นๆ ส่วนใหญ่จะมีชาวพุทธไทยอาศัยอยู่และก็อาราธนาพระสงฆ์มาจากประเทศไทย เพื่อให้พระสงฆ์ได้เป็นที่พึ่งทางใจในยามอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน
พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว โชติโก) กล่าวว่า มหาเถรสมรคม (มส) ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ดำเนินการจัดอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน ได้อบรมไปแล้ว 25 รุ่น มีพระธรรมทูตที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว ออกไปปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
นับเป็นความสำเร็จในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับหนึ่ง แต่การออกไปปฏิบัติศาสนกิจของพระธรรมทูตเหล่านั้น ล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนจากเหล่าคฤหัสถ์ในประเทศนั้นๆ ทำให้พระสงฆ์สามารถอยู่อาศัยสร้างวัด นำพุทธศาสนิกชนในการศึกษา เรียนรู้และปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ได้ เนื่องจากพระสงฆ์ไทยนั้น การเป็นอยู่ล้วนต้องได้รับการอุปัฏฐากจากคฤหัสถ์ทั้งสิ้น กล่าวคือมีชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยคฤหัสถ์นั่นเอง
พระโสภณวชิราภรณ์ กล่าวอีกว่า “ชการจัดบรมธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธในต่างประเทศ ชครั้งนี้ เบื้องต้นกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคฤหัสถ์ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโปทั้งชายและหญิงไว้ 200 คน โดยจัดฝึกอบรมระหว่างวันที่ 27-30 ก.ย.2562 ณ วัดไทยนอร์เวย์ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ แต่เมื่อประกาศรับสมัครออกไป ปรากฏว่า ชาวพุทธไทยทั่วโลกต่างให้ความสนใจสมัครเข้ารับการอบรม กว่า 318 คน
นอกจากเป็นชาวไทยแล้วยังมีชาวต่างชาติที่นับถือพระพุทศาสนาให้ความสนใจเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ด้วยจำนวนมากชผู้เข้ารับการอบรมนอกจากตัองการจะทำหน้าที่เป็นธรรมทูตคฤหัสถ์ ช่วยพระสงฆ์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว เมื่อมีการแบ่งกลุ่มกันเพื่อระดมความคิดในการช่วยพระสงฆ์เผยแผ่แล้ว ชาวพุทธเหล่านั้นต่างก็มองเห็นภัยที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยแล้วเกิดความเศร้าใจ ซึ่งแต่ละคนต่างก็ปฏิญาณตนว่า พร้อมจะช่วยทำนุบำรุงส่งเสริมและปกป้องพระพุทธศาสนาด้วยชีวิต
พระโสภณวชิราภรณ์ กล่าวว่า พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศาสนาแห่งสันติภาพและนำความสงบสันติมาสู่มวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง จึงควรที่จะช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่โลกตลอดไป และถือเป็นนอร์เวย์โมเดลที่จะจัดในรุ่นต่อๆ ไป โดยในปี 2563 วัดพุทธวิหาร อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ รับที่จะเป็นเจ้าภาพจัดในรุ่นที่ 2
ด้านพระวิมลศาสนวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยนอร์เวย์ รองประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในสหภาพยุโรป กล่าวว่า ถ้าจะกล่าวโดยสัจจริงแล้วการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของพระสงฆ์ไทย จะไม่สามารถเผยแผ่ได้อย่างเต็มที่ ถ้าไม่มีคฤหัสถ์ให้ความช่วยเหลือ และที่สำคัญชาวพุทธไทยเมื่อเดินทางไปทำงานในต่างแดน แต่ละคนก็นำความเป็นพุทธและศาสนาพุทธมาเผยแผ่ด้วย และพระสงฆ์เองการที่จะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศใดได้นั้น ก็ต้องมีชาวพุทธอาราธนาให้ไป จึงสามารถไปได้
เมื่อไปแล้ว การลงหลักปักฐาน การสร้างวัด ชีวิต ความเป็นอยู่ในแต่ละวันของพระสงฆ์ก็ล้วนได้รับการเกื้อหนุนอุปัฏฐาก อุปถัมภ์ ดูแลทุกอย่างจากคฤหัสถ์ทั้งสิ้น ในฐานะที่อาตมาเดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจที่ต่างประเทศ ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันก็มองเห็นว่า พระพุทธศาสนาในต่างประเทศทุกวันนี้ มีความเจริญรุ่งเรืองได้ก็เพราะคฤหัสถ์ การจัดอบรมพระธรรมทูตทึ่ผ่านมาก็ได้แต่พระสงฆ์ แต่พระสงฆ์เองก็ทำหน้าที่เผยแผ่ได้อย่างจำกัด ถ้าจะเทียบกับคฤหัสถ์แล้วยังถือว่าประสบผลสำเร็จน้อยกว่า และที่สำคัญ คฤหัสถ์เหล่านี้สามารถชักชวนชาวต่างชาติ ชาวท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ให้หันมานับถือและปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาได้มากที่สุด
“อาตมาขอยกย่องว่าคฤหัสถ์ชาวพุทธในต่างประเทศมีความสามารถจริงๆ ที่สามารถชักชวนชาวต่างชาติ ชาวท้องถิ่นที่นับถือศาสนาอื่นให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา และถือว่าเป็นผู้มีความสามารถจริงๆนำชาวต่างชาติเข้ามาวัด เวลามีกิจกรรมต่างๆ ในวัด หรือกิจกรรมที่จัดขึ้นล้วนแต่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกันเป็นหลัก ชาวต่างชาติที่เข้ามาวัดตามที่คนไทยชักชวน เขาฟังภาษาไทยไม่ออกได้แต่นั่งมองและปฏิบัติตามคำบอกของผู้ชักชวน และก็อดทนนั่งฟัง ร่วมปฏิบัติได้เป็นวันๆ โดยไม่ปริปากบ่นเลย จะให้กราบก็กราบให้ไหว้ก็ไหว้" พระวิมลศาสนวิเทศ
นอกจากนี้ ชาวต่างชาติเมื่อเข้ามาวัดเป็นประจำ ก็ทำให้เกิดความซาบซึ้งในวิถีปฏิบัติของชาวพุทธ หันมานับถือพระพระพุทธศาสนา และเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งในการชักชวนญาติพี่น้องให้เข้ามาวัดด้วย ในช่วงแรกๆ ที่มาปฏิบัติหน้าที่พระธรรมทูต ชาวต่างชาติมักจะมองว่า เป็นศาสนาแปลกๆ ชต่างก็มองว่าจะมาทำอะไรให้ประเทศเขาวุ่นวายหรือไม่ แต่เมื่อชาวพุทธไทยชักชวนเขาเข้ามาและฝึกปฏิบัติตามแล้ว แต่ละคนก็กลับความคิด กลับมามองและเข้าใจว่า พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ไม่มีพิษภัยต่อวิถีชวิตเขา และสามารถเข้ากับชีวิตเขาได้
อย่างไรก็ตาม จึงถือเป็นครั้งสำคัญที่เราได้มีโอกาสยกย่องเชิดชูและให้กำลังใจแก่คฤหัสถ์ ให้ทำหน้าที่ธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจต่อไปและถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และสมกับที่เคยตั้งใจไว้ว่าจะทำโครงการนี้ให้ได้ ต้องขอขอบคุณวิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ให้โอกาสและให้ความสำคัญจนสามารถจัดโครงการนี้และก็ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเครือข่ายต่างๆ จนสำเร็จ
ด้านนางกมลทิพย์ อีแวนส์ จากประเทศอังกฤษหนึ่งในคฤหัสถ์ที่เข้ารับการอบรม กล่าวว่า เมื่อทราบข่าวว่าจะมีการอบรมธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธ ก็สนใจและสมัครเข้ารับการอบรมทันที โดยเดินทางมาจากประเทศอังกฤษเพื่ออบรมในครั้งนี้ เมื่อเข้าอบรมแล้วก็รู้สึกคุ้มค่ากับที่ได้เดินทางมา พร้อมจะทำหน้าที่ธรรมทูตคฤหัสถ์ ช่วยพระสงฆ์เผยแผ่และช่วยปกป้องคุ้มครองพระพุทศาสนาอย่างเต็มความสามารถ
ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นคนไทยและนับถือพระพุทธศาสนา เมื่อมาอยู่อาศัยในต่างแดนก็ไม่เคยละทิ้งความเป็นชาวพุทธ ปัจจุบันชาวต่างชาติก็ให้ความสนใจพระพุทธศาสนมากโดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน การใช้สติในการดำรงชีวิต เมื่อมีโอกาสแต่ละครั้งในการรับเชิญไปร่วมงานวิชาการ หรือเป็นวิทยากร ก็จะนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปกล่าวอธิบายให้ชาวต่างชาติได้ฟังอยู่เสมอๆ และเห็นว่า เขาให้ความสนใจพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งวิถีชีวิตอย่างแท้จริง จึงขอให้ชาวพุทธจงภาคภูมิในความเป็นพุทธและช่วยกันเผยแผ่ ทำนุบำรุง ปกป้องพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
อนึ่ง พระโสภณวชิราภรณ์ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดป้าย ศูนย์ปฏิบัติพระธรรมทูต ประจำภาคพื้นยุโรป ณ วัดไทยนอร์เวย์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการประสานงานและศูนย์ปฏิบัติงานของพระธรรมทูตไทยที่เดินทางเข้าไปปฏิบัติงานดังกล่าว