ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศข้อกำหนด ศบค. มาตรการรองรับการเปิดประเทศ
เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19)ที่ 7/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 11) เกี่ยวกับมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแนบท้ายคำสั่ง
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 โดยมีคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ที่ 4/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 5/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามควำมในมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 10) ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 นั้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2563 เรื่อง การจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 (2) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด- 19 จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตราการป้องกันโรคแนบท้ายคำสั่งโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นสั่ง ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด- 19
มาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 7/2564 ลงวันที่ 29มิถุนายน 2564
1.การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้โดยสารหรือผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร (12) ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นจังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ด้าน เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวหรือกิจกรรมอื่น ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล
มาตรการก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
1) ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงหรือสถานที่ชุมชนไม่น้อยกว่า 14 วัน
2) เดินทางมาจากประเทศ/พื้นที่ซึ่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.) หรือศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศ อนุมัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยการเสนอของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้มีการลงทะเบียนผ่านระบบหรือเว็บไซต์ที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ผู้เดินทางต้องอยู่ในประเทศดังกล่าวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 21 วันก่อนออกเดินทาง เว้นแต่ผู้ที่พานักอยู่ในราชอาณาจักรซึ่งได้เดินทางออกจากราชอาณาจักรและได้เดินทางไปยังประเทศ/พื้นที่ที่ได้รับอนุมัติข้างต้น โดยให้มีเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนี้
– หนังสือที่รับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (Certificate of Entry – COE)
– ใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโรคโควิด – 19 (Medical certificate with a laboratory result indicating that COVID – 19 is not detected) โดยวิธี RT-PCR โดยมีระยะเวลาไม่เกิน ๗๒ ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
– กรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลหรือหลักประกันอื่นใดซึ่งรวมถึงกรณีโรคโควิด – 19 ตลอดระยะเวลาที่ผู้เดินทางอยู่ในราชอาณาจักร ในวงเงินไม่น้อยกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
– หลักฐานการชำระค่าที่พักและค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR โดยระบุระยะเวลาการเข้าพักไม่น้อยกว่า 14 วัน ในโรงแรมหรือสถานที่พัก ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำหนด สาหรับกรณีที่ผู้เดินทางพำนักอยู่ในราชอาณาจักร เป็นเวลาน้อยกว่า 14 วัน ให้มีบัตรโดยสารของสายการบินที่ระบุห้วงระยะเวลาในการเดินทางออกจากราชอาณาจักร หลักฐานการชำระเงินค่าที่พัก และค่าตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR ในห้วงเวลาดังกล่าว
– เอกสารหรือหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีน (Certificate of Vaccination) ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนกำหนด ซึ่งเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนออกเดินทาง ทั้งนี้ สำหรับผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์การได้รับวัคซีน และเดินทางมาพร้อมกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ให้มีใบรับรองแพทย์ ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโรคโควิด – 19 (Medical certificate with a laboratory result indicating that COVID – 19 is not detected) โดยวิธี RT-PCR โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
3) ให้คัดกรองอาการทางเดินหายใจและวัดไข้ ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศของประเทศ/พื้นที่ต้นทาง ก่อนออกเดินทาง (Exit screening)
มาตรการเมื่อเดินทางถึง/ระหว่างอยู่ในราชอาณาจักร
1) มาตรการตรวจคัดกรองอาการและการดำเนินพิธีการตรวจคนเข้าเมือง
1.1) กรณีเดินทางเข้าราชอาณาจักรโดยสายการบินที่มีเที่ยวบินตรงมายัง ณ ท่าอากาศยานนานาชาติที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวให้คัดกรองอาการทางเดินหายใจและวัดไข้ และยื่นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงการดำเนินพิธีการตรวจคนเข้าเมือง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
1.2) กรณีเดินทางเข้าราชอาณาจักรโดยสายการบินที่ไม่มีเที่ยวบินตรง และต้องเดินทางโดยทางอากาศต่อไปยังท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้ผู้เดินทางดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
ก. ให้คัดกรองอาการทางเดินหายใจและวัดไข้และให้ยื่นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงการดำเนินพิธีการตรวจคนเข้าเมือง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศจุดแรกที่มีการเดินทางเข้ามาภายในราชอาณาจักร ก่อนเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานจุดหมายปลายทางที่เป็นพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว
ข. ให้คัดกรองอาการทางเดินหายใจและวัดไข้และให้ยื่นเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงการดำเนินพิธีการตรวจคนเข้าเมือง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศหรือในพื้นที่ของท่าอากาศยานจุดหมายปลายทางที่เป็นพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว
2) ให้ใช้ระบบติดตามหรือติดตั้งแอปพลิเคชันตามที่ทางราชการกำหนด โดยให้เปิดระบบติดตามดังกล่าวไว้ตลอดเวลา เพื่อเฝ้าระวังหรือติดตามอาการระหว่างที่ผู้เดินทางพำนักอยู่ในพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว
3) ให้เดินทางออกจากท่าอากาศยานไปยังโรงแรมหรือสถานที่พักโดยยานพาหนะที่จัดไว้เป็นการเฉพาะ โดยต้องไม่มีการแวะหรือหยุดพัก ณ สถานที่ใด ๆ ก่อนถึงโรงแรมหรือสถานที่พัก
4) ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยวิธี RT-PCR ณ สถานที่ที่ทางราชการกำหนด โดยผู้เดินทางรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
4.1) ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยวิธี RT-PCR จานวน 1 ครั้ง เมื่อเดินทางมาถึงราชอาณาจักร โดยห้ามเดินทางออกนอกโรงแรมหรือสถานที่พักจนกว่าจะมีผลการตรวจยืนยันว่าไม่มีเชื้อโรคโควิด – 19
4.2) ให้มีการตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยวิธี RT-PCR เพิ่มเติมจากข้อ 4.1) ดังนี้
ก. กรณีพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน 7 วัน ให้มีการตรวจหาเชื้อ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 ของระยะเวลาที่พำนักหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข. กรณีพำนักอยู่ในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 10-14 วัน ให้มีการตรวจหาเชื้อ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 และครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 12-13 ของระยะเวลาที่พำนักหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ทั้งนี้ ในกรณีพบว่าผู้เดินทางมีการติดเชื้อโรคโควิด – 19 ให้โรงแรมหรือสถานที่พักดำเนินการประสานส่งตัวผู้เดินทางไปยังสถานพยาบาลคู่สัญญาตามแนวทางที่กระทรวสาธารณสุขหรือทางราชการกำหนดโดยเร่งด่วนเพื่อทำการตรวจหรือรักษาต่อไป โดยผู้เดินทางเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งหมด หรือเป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายระหว่างโรงแรมหรือสถานที่พักกับผู้เดินทาง
5) กรณีผู้เดินทางออกนอกโรงแรมหรือสถานที่พักหลังจากทราบผลการตรวจยืนยันแล้วว่าไม่มีเชื้อโรคโควิด – 19 ให้ผู้เดินทางรายงานตัวเมื่อกลับมา
ยังโรงแรมหรือสถานที่พักทุกวันตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือตามที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด โดยห้ามไปพำนักค้างคืนในสถานที่อื่นนอกเหนือจากโรงแรมหรือสถานที่พักที่ได้กำหนดไว้ และให้ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ราชการกำหนดอย่างเคร่งครัดตลอดเวลาที่พำนักอยู่ในพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว
6) กรณีผู้เดินทางพำนักอยู่ในจังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวเป็นเวลาน้อยกว่า 14 วัน ห้ามผู้เดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวเด็ดขาด และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรทันที
7) กรณีผู้เดินทางพำนักอยู่ในจังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ให้สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวได้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว
มาตรการก่อนเดินทางออกจากราชอาณาจักรหรือเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นภายในราชอาณาจักร
– ให้ตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยวิธี RT-PCR กรณีประเทศ/พื้นที่ปลายทางกำหนด โดยผู้เดินทางเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
– ในกรณีผู้เดินทางออกจากพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยวไปยังจังหวัดอื่นภายในราชอาณาจักร ให้ผู้เดินทางแสดงหลักฐานการพำนักที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนำร่องด้านการท่องเที่ยว พร้อมหลักฐานผลการตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 โดยวิธี RT-PCR ตามข้อ 4.2) ข. ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อของจังหวัดต้นทางและจังหวัดปลายทางตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่ทางราชการกำหนด
หมายเหตุ : 1.ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ใช้กรมธรรม์โดยบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย ภายใต้การกำกับและรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยกรมธรรม์ประกันภัยต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลกรณีการติดเชื้อโรคโควิด – 19 ที่ไม่แสดงอาการด้วย
2. การเริ่มนับระยะเวลาที่ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่ที่ผู้เดินทางอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ
2.1 ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา ให้นับวันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นวันแรก (Day 1)
2.2 ตั้งแต่เวลา 18.01 นาฬิกา ถึง 00.00 นาฬิกา ให้นับวันถัดจากวันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นวันแรก (Day) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/143/T_0076.PDF