ศบค.แถลงผู้ป่วยโควิดรายใหม่เพิ่ม 7 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ขณะที่ผู้รักษาหายเพิ่มอีก 43 ราย รวมสะสมแล้ว 2,652 ราย
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 63 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้
-วันนี้ไทยพบผู้ป่วยใหม่ต่ำกว่า 10 รายเป็นวันที่สอง โดยมียอดผู้ป่วยใหม่อยู่ที่ 7 ราย / รวมสะสม 2,938 ราย
ผู้ป่วยรายใหม่จำแนกได้ดังนี้
-ผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้ 5 ราย (ภูเก็ต 3 ราย กทม. 1 ราย นครราชสีมา 1 ราย)
-ผู้ป่วยมีประวัติไปสถานที่ชุมชนแออัด 1 ราย
-อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค (กทม.) 1 ราย
-ผู้ป่วยได้รับการรักษาหายเพิ่มขึ้น 43 ราย / รวมสะสม 2,652 ราย
-เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย / รวมสะสม 54
ผู้เสียชีวิตรายที่ 53 เป็นชายไทยวัย 52 ปี อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้จากการประชุมสัมมนา โดยเริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค.ด้วยอาการไข้ ปวดแมื่อยตามร่างกาย และวันที่ 21 มี.ค.เข้ารักษาอาการที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งใน กทม. แพทย์ส่งตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ต่อมาวันที่ 24 มี.ค.มีอาการไข้สูง 38.2 คลื่นไส้ แพทย์จึงส่งตรวจอีกครั้งก็ยังยืนยันการติดเชื้อ และวันที่ 30 มี.ค.อาการแย่ลง และมีภาวะปอดรั่ว แพทย์ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ จนกระทั่งเสียชีวิตลงในวันที่ 27 เม.ย.จากระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และไตวายเฉียบพลัน
-ผู้เสียชีวิตรายที่ 54 เป็นหญิงไทยวัย 63 ปี อาชีพค้าขาย เป็นเจ้าของร้านอาหารทำหน้าที่รับเงิน มีภาวะอ้วน ประวัติสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 ในครอบครัว คือ สามี และหลานสาว เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ด้วยอาการไข้ มึนศรีษะ เข้ารักษาตัวในคลีนิกแต่อาการไม่ดีขึ้นจึงไปเข้า รพ.ในจังหวัดภูเก็ตในวันที่ 1 เม.ย.มีไข้ หายใจเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย ผลตรวจยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ต่อมาอาการแย่ลงแพทย์ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ จนกระทั่งเสียชีวิตลงในวันที่ 27 เม.ย.ด้วยอาการปอดอักเสบติดเชื้อ และระบบหายใจล้มเหลว
***************************
-โฆษกศบค.ยังเปิดเผยถึงสถานการณ์ผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ช่วงม.ค.-26 เม.ย.63 ดังนี้
-พบผู้ป่วยอายุ60ปีขึ้นไป จำนวน 328 ราย คิดเป็น 11% ของผู้ป่วยทั้งหมด
-ผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป เสียชีวิต 21 ราย (อัตราการป่วยตายอยู่ที่ 6.4%) ชายมากกว่าหญิง และ เป็นชาวไทย 86% ชาวต่างชาติ 14%
-ปัจจัยเสี่ยงที่พบในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป มีดังนี้ พิธีศาสนา 79 ราย (24%) , เกี่ยวข้องกับมวย และผู้สัมผัส 78 (24%) , สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 58 ราย (18%) , ชาวต่างชาติเดินทางจากต่างประเทศ 31 ราย (10%) , อาชีพเสี่ยง/ไปสถานที่ชุมชน-แออัด 23ราย (7%) , ชาวไทยเดินทางจากต่างประเทศ 22 ราย (6%) , อื่นๆ 35 ราย (11%)