สคช.ตอบโจทย์ประเทศ พัฒนาคนในอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้ได้มาตรฐานตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่เน้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย
นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์และประมาณประชากรในปี 2583 ว่า จำนวนผู้สูงอายุในช่วงวัย 60-69 ปี จะเพิ่มสูงขึ้น 14% ช่วงวัย 70-79 ปี เพิ่มขึ้น 12% และช่วงอายุ 80-89 ปี เพิ่มขึ้น 6.1% ซึ่งถือเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเตรียมพร้อมสังคมไทยสู่สังคมผู้สูงอายุ ให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ทุกภาคส่วนทำงานร่วมกัน พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ นอกจากการเตรียมพร้อมสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว การพัฒนาผู้สูงอายุให้มีศักยภาพสามารถพึ่งตนเองได้ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ขณะเดียวกันจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น เพราะการบริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้บุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญของอาชีพ ความมีมาตรฐานในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตาม สคช.ได้ตั้งเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ซึ่งอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งในแผนการดำเนินการตามเป้าหมายเพื่อขานรับนโยบายรัฐบาล ที่ผ่านมา สคช. ได้ผลักดันและสนับสนุนให้คนในอาชีพได้เข้าสู่การประเมิน เพื่อตอบโจทย์สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุของไทย โดยได้มีการจัดประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ สาขาบริการสุขภาพ อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ
นายพิสิฐ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2557 - 2562 ระดับชั้นคุณวุฒิ 1 - 4 มีผู้เข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 12,733 คนโดยมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาสมรรถนะของคนให้มีกระบวนการทำงานที่มีคุณภาพ มีการประเมินตามเครื่องมือที่กำหนด เพื่อได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ รองรับความรู้ ความสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการภายในประเทศและระดับสากล
ล่าสุด ทางสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โดยนายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ได้เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่ ผ่านการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพสาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยเข้ารับการประเมินกับโรงเรียนพร้อมจิตบริบาล จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรรับรองฯ มีผู้ผ่านการประเมิน จำนวน 670 คน คุณวุฒิชั้น 1 จำนวน 320 คน คุณวุฒิชั้น 3 จำนวน 30 คน รวม 350 คน
ทั้งนี้ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กร ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในส่วนของผู้เข้ารับการประเมินได้พัฒนาศักยภาพของตัวเอง นำมาปรับปรุงและประยุกต์ใช้กับการทำงาน ผู้ที่ผ่านการประเมินจะได้รับผลตอบแทนและความก้าวหน้าในอาชีพ เพิ่มโอกาสในอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ สามารถดูแลผู้สูงอายุและดูแลตัวเองอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย ตอบโจทย์นโยบายรัฐบาลที่มุ่งให้ไทย Basic ADL Care (Elderly People's daily care activities)