สุราษฎร์ธานี-ลอบเผาขนำเฝ้าคอกหอยกลางทะเลอ่าวบ้านดอนของชาวบ้านชุมชนบ้านคลองราง ส่อเกิดความรุนแรงระหว่างชาวประมงพื้นบ้านกับชาวบ้านในชุมชนเลี้ยงหอย
เมื่อวันที่ 31 พ.ค.เกิดเหตุไฟไหม้ขนำเฝ้าคอกหอยกลางทะเลของชาวบ้านชุมชนบ้านคลองราง หมู่ที่ 2 ต.ลีเล็ด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ภายหลังทราบเหตุนายประเสริฐ ชัญจุกร กำนันตำบลลีเล็ด พร้อมชาวบ้านรีบรุดไปยังที่เกิดเหตุ แต่ช่วยอะไรไม่ได้โชคดีไม่มีผู้ใดติดอยู่บนขนำ โดยพบเพลิงกำลังลุกไหม้อย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นขนำไม้เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ตั้งอยู่สูงจากพื้นน้ำประมาณ 5 เมตรทำให้เพลิงไหม้เสียหายเกือบทั้งหมดเหลือแต่เสา สำหรับคอกหอยดังกล่าวมีเนื้อที่เลี้ยงหอยแครงประมาณ 80 ไร่ เจ้าของได้ซื้อลูกหอยมาปล่อยเลี้ยงไว้ได้ถูกชาวบ้านเข้ามาจับลูกหอยไปขายจนหมดแล้ว
เบื้องต้นทราบว่า ก่อนเกิดเหตุได้มีชาวประมงพื้นบ้านกว่า 500 คนนำเรือหางยาวประมาณกว่า 300 ลำ เข้าไปจับหอยแครงในบริเวณพื้นที่ดังกล่า โดยชาวบ้านในชุมชน ต.ลีเล็ด และเจ้าของคอกหอยนำเรือติดลำโพงออกมาประกาศขอร้องและห้ามไม่ให้เข้าพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่สงวนของชุมชนได้ชื้อลูกหอยมาเลี้ยงไม่ใช่ลูกหอยตามธรรมชาติและหอยมีขนาดใหญ่รอการจับขายถือเป็นทรัพย์สินของชุมชน
ข่าวแจ้งว่า ช่วงมีการประกาศออกลำโพง อีกฟากหนึ่งได้เร่งเครื่องเรือหางยาวดังสนั่น และมีชาวชุมชนลีเล็ดเห็นเรือขนาดเล็ก 1 ลำ มีคนนั่งอยู่ในเรือ 3 คน แล่นเข้าไปยังขนำเฝ้าหอยที่เกิดเหตุแล้วขว้างขวดลักษณะคล้ายขวดระเบิดเพลิงใส่น้ำมันขึ้นไปยังขนำจนเกิดไฟลุกไหม้ โดยเรือที่ก่อเหตุได้แล่นมุ่งหน้าไปทางเขต อ.เมืองสุราษฎร์ธานี ล่าสุดนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มอบให้นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร่งด่วน
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ค. มีชาวประมงพื้นบ้านจากหลายแห่งประมาณ 1 หมื่นคน นำเรือหางยาวกว่า 1,000 ลำ มาจอดลอยลำเตรียมลงจับหอยแครง โดยนายวิชัย สมรูป ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 สุราษฎร์ธานี และนายประเสริฐ ชัญจุกร กำนัน ต.ลีเล็ด อ.พุนพิน ได้ชี้แจงเป็นพื้นที่ขออุทธรณ์เลี้ยงหองของชุมชน เนื่องจากอยู่นอกเขตอนุรักษ์ 1,000 เมตรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอนุญาตให้ชาวประมงพื้นบ้านให้เข้าจับลูกหอยได้ ขอให้ชาวประมงพื้นบ้านออกจากพื้นที่ไปก่อน โดยจะมีการประชุมหาข้อสรุปในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ชาวบ้านจึงยอมออกไป แต่เมื่อเรือนายวิชัยเดินทางกลับ ชาวประมงพื้นบ้านกลับ นำเรือร่วม 200 ลำย้อนกลับเข้าไปในพื้นที่