“แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอางไทย
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (Service platform for food and functional Ingredients Group) พร้อมด้วยทีมวิจัย สวทช. เปิดบ้านให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์พิเศษ แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน หรือ ฟูดเซิร์ป FoodSERP ในกิจกรรม NSTDA Meets the Press พร้อมเข้าเยี่ยมชมแพลตฟอร์มบริการผลิตส่วนผสมฟังก์ชันอาหาร (Functional food Ingredients) โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค แพลตฟอร์มบริการผลิตเวชสำอาง (Cosmeceuticals) โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง และ รวมถึงบริการด้านวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ บนฐานความเข้มแข็งของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมส่วนผสมฟังก์ชัน อาหาร และเวชสำอางของประเทศ
ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (Service platform for food and functional Ingredients) สวทช. เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหาร คือหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นเม็ดเงินมหาศาล ด้วยความได้เปรียบของไทยที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ในขณะที่ทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารโลก มุ่งไปสู่อาหารใหม่ หรืออาหารฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารและส่วนผสมฟังก์ชันของไทย จึงได้ดำเนินการจัดตั้ง “แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน” หรือ “FoodSERP” เพื่อให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร ส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอาง รวมถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สำหรับทดลองตลาดและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในรูปแบบ One-Stop Service ในผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ส่วนผสมฟังก์ชัน 2.โปรตีนทางเลือก 3.อาหารเฉพาะกลุ่ม และ 4.สารสกัดเชิงหน้าที่ โดยผ่านการดำเนินงานเชิงบูรณาการของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสหสาขา ความพร้อมของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการขยายผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์
“FoodSERP พร้อมให้บริการการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมภายใต้มาตรฐานสากล ได้แก่
โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค เป็นสถานที่ผลิตอาหาร ที่ได้รับมาตรฐานสากล Codex GHPs และ HACCP รวมถึงการดำเนินงานภายใต้แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการใช้จุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม หรือ Good Industrial Large Scale Practice (GILSP) ในสภาพควบคุมระดับ LS1 ซึ่งรองรับการผลิตจากจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงกระบวนการชีวภาพต่างๆ
โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ให้บริการตั้งแต่การทดลองผลิตในสเกลขนาดเล็กเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง บริการขยายขนาดการผลิต และการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมด้วยมาตรฐาน ASEAN Cosmetic GMP”
ดร.กอบกุล กล่าวต่อว่า นอกจากโรงงานต้นแบบแล้ว FoodSERP ยังมีบริการสำคัญที่จะช่วยยกระดับและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนผสมฟังก์ชันและเวชสำอาง ประกอบด้วย
บริการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชันอาหาร สารสกัดจากพืชและสมุนไพร และเวชสำอาง สำหรับใช้ทดสอบประสิทธิภาพ ทดสอบทางคลินิก หรือทดลองตลาด รวมถึงการเตรียมข้อมูลวิเคราะห์ทดสอบและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์
บริการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนทางเลือกและอาหารเฉพาะบุคคล ด้วยเทคโนโลยีเอ็กซ์ทรูชัน และเทคโนโลยีการผลิตอาหารด้วยการพิมพ์ 3 มิติ
บริการทดสอบประสิทธิภาพ คุณภาพและความปลอดภัยของส่วนผสมฟังก์ชันและผลิตภัณฑ์ ได้แก่
• การทดสอบประสาทสัมผัสเชิงโมเลกุลด้านการรับรสและกลิ่น
• การทดสอบเนื้อสัมผัสอาหาร และความหนืดของเครื่องดื่ม
• การทดสอบการย่อยและการดูดซึมของตัวอย่างทดสอบ ด้วยแบบจำลองระบบทางเดินอาหาร
• การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ เช่น ชะลอวัย ต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ ของส่วนผสม (ingredients) หรือผลิตภัณฑ์เวชสำอาง โดยใช้โมเดลผิวหนัง ทั้งในระดับเซลล์ (2D cells) เนื้อเยื่อผิวหนังสามมิติ (3D skin) และผิวหนังที่ได้จากอาสาสมัคร (ex vivo Skin)
• การทดสอบด้านความ
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำโดย ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (Service platform for food and functional Ingredients Group) พร้อมด้วยทีมวิจัย สวทช. เปิดบ้านให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์พิเศษ แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน หรือ ฟูดเซิร์ป FoodSERP ในกิจกรรม NSTDA Meets the Press พร้อมเข้าเยี่ยมชมแพลตฟอร์มบริการผลิตส่วนผสมฟังก์ชันอาหาร (Functional food Ingredients) โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค แพลตฟอร์มบริการผลิตเวชสำอาง (Cosmeceuticals) โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง และ รวมถึงบริการด้านวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ บนฐานความเข้มแข็งของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมส่วนผสมฟังก์ชัน อาหาร และเวชสำอางของประเทศ
ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มแพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน (Service platform for food and functional Ingredients) สวทช. เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหาร คือหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นเม็ดเงินมหาศาล ด้วยความได้เปรียบของไทยที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ในขณะที่ทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารโลก มุ่งไปสู่อาหารใหม่ หรืออาหารฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารและส่วนผสมฟังก์ชันของไทย จึงได้ดำเนินการจัดตั้ง “แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน” หรือ “FoodSERP” เพื่อให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร ส่วนผสมฟังก์ชัน และเวชสำอาง รวมถึงการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สำหรับทดลองตลาดและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในรูปแบบ One-Stop Service ในผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.ส่วนผสมฟังก์ชัน 2.โปรตีนทางเลือก 3.อาหารเฉพาะกลุ่ม และ 4.สารสกัดเชิงหน้าที่ โดยผ่านการดำเนินงานเชิงบูรณาการของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสหสาขา ความพร้อมของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการขยายผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์
“FoodSERP พร้อมให้บริการการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมภายใต้มาตรฐานสากล ได้แก่
โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค เป็นสถานที่ผลิตอาหาร ที่ได้รับมาตรฐานสากล Codex GHPs และ HACCP รวมถึงการดำเนินงานภายใต้แนวทางการปฏิบัติที่ดีในการใช้จุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม หรือ Good Industrial Large Scale Practice (GILSP) ในสภาพควบคุมระดับ LS1 ซึ่งรองรับการผลิตจากจุลินทรีย์ทั่วไปและจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงกระบวนการชีวภาพต่างๆ
โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ให้บริการตั้งแต่การทดลองผลิตในสเกลขนาดเล็กเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง บริการขยายขนาดการผลิต และการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมด้วยมาตรฐาน ASEAN Cosmetic GMP”
ดร.กอบกุล กล่าวต่อว่า นอกจากโรงงานต้นแบบแล้ว FoodSERP ยังมีบริการสำคัญที่จะช่วยยกระดับและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนผสมฟังก์ชันและเวชสำอาง ประกอบด้วย
บริการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ส่วนผสมฟังก์ชันอาหาร สารสกัดจากพืชและสมุนไพร และเวชสำอาง สำหรับใช้ทดสอบประสิทธิภาพ ทดสอบทางคลินิก หรือทดลองตลาด รวมถึงการเตรียมข้อมูลวิเคราะห์ทดสอบและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์
บริการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนทางเลือกและอาหารเฉพาะบุคคล ด้วยเทคโนโลยีเอ็กซ์ทรูชัน และเทคโนโลยีการผลิตอาหารด้วยการพิมพ์ 3 มิติ
บริการทดสอบประสิทธิภาพ คุณภาพและความปลอดภัยของส่วนผสมฟังก์ชันและผลิตภัณฑ์ ได้แก่
• การทดสอบประสาทสัมผัสเชิงโมเลกุลด้านการรับรสและกลิ่น
• การทดสอบเนื้อสัมผัสอาหาร และความหนืดของเครื่องดื่ม
• การทดสอบการย่อยและการดูดซึมของตัวอย่างทดสอบ ด้วยแบบจำลองระบบทางเดินอาหาร
• การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ เช่น ชะลอวัย ต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ ของส่วนผสม (ingredients) หรือผลิตภัณฑ์เวชสำอาง โดยใช้โมเดลผิวหนัง ทั้งในระดับเซลล์ (2D cells) เนื้อเยื่อผิวหนังสามมิติ (3D skin) และผิวหนังที่ได้จากอาสาสมัคร (ex vivo Skin)
• การทดสอบด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพด้วยแบบจำลองปลาม้าลาย (zebrafish)
• การทดสอบด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพด้วยแบบจำลองลำไส้แบบ 3 มิติ
นอกจากนี้ยังมีบริการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหาร ผัก ผลไม้ และมีบริการการวิเคราะห์/ทดสอบสมบัติของบรรจุภัณฑ์พลาสติก
สำหรับ FoodSERP จัดตั้งขึ้นในปลายปี 2565 โดยเป็นหนึ่งใน core business ของ สวทช. มีพันธกิจหลักในการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงความพร้อมด้านต่าง ๆ ไปสู่การใช้ประโยชน์จริงและส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มากของประเทศ ผ่านการให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบอาหาร เวชสำอาง และส่วนผสมฟังก์ชัน ตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะ (Tailor made) ของลูกค้า ในรูปแบบ One-stop service โดยทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญหลากสาขา มีวิทยาการความรู้ (know-how) และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่พร้อมให้บริการ รวมถึงเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและมีมาตรฐานการผลิต ที่จะช่วยผู้ประกอบการในการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม แก้ปัญหาต่าง ๆ ในห่วงโซ่การผลิต เพิ่มความพร้อมของเทคโนโลยี การวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้งด้านประสิทธิภาพ คุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงในการดำเนินงานกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน และสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมส่วนผสมฟังก์ชัน (Functional ingredients ) สมุนไพร และเวชสำอาง จากฐานทรัพยากรชีวภาพด้านการเกษตรและจุลินทรีย์ของประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมชีวภาพของประเทศอย่างยั่งยืนตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ปลอดภัยและประสิทธิภาพด้วยแบบจำลองปลาม้าลาย (zebrafish)
• การทดสอบด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพด้วยแบบจำลองลำไส้แบบ 3 มิติ
นอกจากนี้ยังมีบริการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหาร ผัก ผลไม้ และมีบริการการวิเคราะห์/ทดสอบสมบัติของบรรจุภัณฑ์พลาสติก
สำหรับ FoodSERP จัดตั้งขึ้นในปลายปี 2565 โดยเป็นหนึ่งใน core business ของ สวทช. มีพันธกิจหลักในการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงความพร้อมด้านต่าง ๆ ไปสู่การใช้ประโยชน์จริงและส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มากของประเทศ ผ่านการให้บริการการผลิตและวิเคราะห์ทดสอบอาหาร เวชสำอาง และส่วนผสมฟังก์ชัน ตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะ (Tailor made) ของลูกค้า ในรูปแบบ One-stop service โดยทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญหลากสาขา มีวิทยาการความรู้ (know-how) และแพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่พร้อมให้บริการ รวมถึงเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและมีมาตรฐานการผลิต ที่จะช่วยผู้ประกอบการในการพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม แก้ปัญหาต่าง ๆ ในห่วงโซ่การผลิต เพิ่มความพร้อมของเทคโนโลยี การวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้งด้านประสิทธิภาพ คุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงในการดำเนินงานกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน และสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมส่วนผสมฟังก์ชัน (Functional ingredients ) สมุนไพร และเวชสำอาง จากฐานทรัพยากรชีวภาพด้านการเกษตรและจุลินทรีย์ของประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมชีวภาพของประเทศอย่างยั่งยืนตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG