THAI NEWS

18 พฤษภาคม 2566 : 20:51 น.

รมว. ศธ. เปิดพิธีโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน ฯ

ระหว่าง สำนักงาน กศน.                    ให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสการยกระดับ                                        “สำนักงาน กศน.” สู่ “กรมส่งเสริมการเรียนรู้”

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ระหว่าง สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ  พร้อมกล่าวแสดงความยินดี ผ่านทางระบบออนไลน์  ในโอกาสการยกระดับจาก “สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย” หรือ “สำนักงาน กศน.” สู่การเป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” โดยมีนายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวส่งมอบการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน ฯ จากสำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สู่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านทางวีดิทัศน์ นอกจากนี้ นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ผู้บริหารองค์กรหลักกระทรวงศึกษาธิการ นายคมกฤช จันทร์ขจร                    รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้  นางสาวทรงศรี วิระรังษิยากรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และนายวุฒิพล ทับธานี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดในพิธีโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ระหว่าง สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ว่า จากประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของการจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ ได้เริ่มมีอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2483 โดยรัฐบาลได้จัดตั้ง "กองการศึกษาผู้ใหญ่" สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรับผิดชอบงานการศึกษาผู้ใหญ่โดยตรง และได้ขยายโอกาสการศึกษาผู้ใหญ่อย่างกว้างขวาง ในช่วงปี พ.ศ. 2513 -2523 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น "กรมการศึกษานอกโรงเรียน" เพื่อจัดการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับประชาชน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2522  และต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน ถูกยุบรวมเป็นสำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน และได้ปรับบทบาทภารกิจเป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551  ทั้งนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต  การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย 2) ภูมิใจและตระหนักในความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3) รู้จักความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 4) ใฝ่เรียนรู้ มีความรอบรู้ รอบคอบ มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริต 5) มีสำนึกในความรับผิดชอบ มีความเป็นพลเมืองที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างผาสุก

-2-

6) เพื่อให้บุคคลได้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก และมีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น ซึ่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ฉบับนี้ ถือเป็นการ “ปฏิรูปการศึกษา” รอบใหม่ ผ่าน 3 เสาหลัก ได้แก่ รัฐ  เอกชน และท้องถิ่น ที่จะร่วมกันให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต        นอกจากนี้ การเรียนรู้ของประชาชนคนไทย ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส จะสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้ปรัชญา No One Left Behind หรือ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” จุดเด่นของ “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” คือ    การเชื่อมโยงเครือข่ายการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเดิม จัดตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้” ที่จะขยายตัวรองรับทุกพื้นที่ ตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคใหม่ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มทักษะชีวิต เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามแนวคิด Life Long Learning ที่เน้นเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย ผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับพื้นที่ และระดับประเทศ

ดังนั้น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงเป็นหน่วยงานที่ต้องมีการปรับตัวให้ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่เป็นกรมใหม่ล่าสุดของประเทศไทยที่มีภารกิจสำคัญอย่างยิ่ง และมีความคาดหวังว่าจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาของประเทศไทย รูปแบบการทำงาน จึงต้องเป็นแบบบูรณาการทั้งแนวระนาบเดียวกันและแนวตั้ง ทั้งในกระทรวงและระหว่างกระทรวง และที่สำคัญคือ ต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ อย่างแท้จริง

นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวในการส่งมอบโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ระหว่าง สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมกล่าวแสดงความยินดีผ่านวีดิทัศน์ โดยขอแสดงความยินดีแก่ชาวชาว กศน. กับการก้าวไปสู่บ้านหลังใหม่ ซึ่งเป็นการยกระดับจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้”  โดยเมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ และมีการยุบรวมกรมต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ จากเดิม 14 กรม เหลือเพียง 5 สำนักงาน ทำให้ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ถูกยุบรวมเป็น “สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน” สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายในทุกพื้นที่ จึงได้มีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551” เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551  จึงทำให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนถูกปรับเปลี่ยนเป็น “สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย” หรือ “สำนักงาน กศน.” เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย

-3-

จนกระทั่งวันที่ 18 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสำนักงาน กศน. จึงขอส่งมอบและโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง รวมถึงข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงาน กศน. ไปเป็นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ “ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566” และเชื่อมั่นว่าการยกฐานะเป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ถือเป็นโอกาสดีในการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

นายคมกฤช จันทร์ขจร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้  กล่าวว่า ในการรับมอบโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพัน ทั้งปวง ระหว่าง สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ  มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการยกฐานะจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งมีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณวุฒิตามระดับ ซึ่งนอกเหนือจากบทบาทภารกิจการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 28 พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ให้โอนบรรดากิจการ และภาระผูกพันทั้งปวง รวมถึงข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลัง                                    ของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไปเป็นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ  จึงได้จัดพิธีโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ระหว่าง สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการ                ตามมาตรา 28 เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ

       ในขณะที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของ สำนักงาน กศน. ไปสู่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ก็คงปฏิเสธไม่ได้กับความคาดหวังของสังคมว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วประชาชนจะได้อะไรบ้าง                            ซึ่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และบุคลากรของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ทุกคน ขอยืนยันว่าจะมุ่งมั่นดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม เต็มสรรพกำลังความสามารถ ผลักดันให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานที่มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา และนำไปสู่การเรียนรู้ของคนไทยตลอดช่วงชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกช่วงวัย ลดคสามเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ เพื่อยกระดับสังคมในภาพรวมของประเทศต่อไป                 นายคมกฤช กล่าวในที่สุด.

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ