กรุงเทพฯ 9 พฤษภาคม 2566 - คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (อียู) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและกรุงเทพมหานคร ปลูกต้นไม้มิตรภาพใจกลางเมือง เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบกว่า 60 ปี
ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย งานปลูกต้นไม้มิตรภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อเฉลิมฉลองศักราชใหม่ของความร่วมมือ ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย โดยงานนี้ยังจัดขึ้นใน "วันยุโรป" ซึ่งตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคมของทุกปี และเป็นวันที่สหภาพยุโรปจะรำลึกถึงสันติภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความหลายหลาย และความสามัคคี วันยุโรปถูกกำหนดขึ้นตามวันที่มีการประกาศปฏิญญาชูมานในปี พ.ศ. 2493 ซึ่งเสนอให้สร้างความร่วมมือทางการเมืองรูปแบบใหมในยุโรป อันเป็นจุดเริ่มต้นของสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
โดยในงานมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ ฯพณฯ นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ปลูกต้นพะยูงสามต้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย โดยต้นพะยูงเป็นไม้ที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ โดยสหภาพยุโรปได้มีสวนร่วมในการอนุรักษ์พันธุ์ไม้นี้ผ่านการให้ทุนสนับสนุนโครงการ Partners Against Wildlife Crime ในงานยังมีคณะทูตานุทูตจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและอาเซียน พร้อมด้วยคณะทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกและแขกผู้มีเกียรติท่านอื่นเข้าร่วม
ฯพณฯ นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวถึงความสำคัญของงานว่า "พิธีปลูกต้นไม้มิตรภาพในวันนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงมิตรภาพอันยาวนานระหว่างชาวยุรปและชาวไทย นอกจากนี้ เรายังได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการมุ่งพัฒนาเศษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รอบด้าน เต็มไปด้วยนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามที่ระบุ ไว้อย่างชัดเจนในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน ( Partnership and Cooperation Agreement - PCA) ที่ได้มีลงนามในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสามารถเริ่มต้นได้จากก้าวเล็กๆ ตันไม้ที่เรามาปลูกร่วมกันในวันนี้ จะเจริญเติบโตงอกงามไปพร้อมกับมิตรภาพและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน สำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต"
งานในวันนี้ เน้นให้เห็นถึงความมุ่งมั่นร่วมกันระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยในการสงเสริมเมืองสีเขียวที่ยั่งยืนและน่าอยู่ โดยสหภาพยุโรปจะรวมบริจาคตันไม้ทั้งหมด 600 ต้น สำหรับการปลูกทั่วกรุงเทพฯ เพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อม ของกรุงเทพมหานครซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปสีเขียว (European Green Deal ของสหภาพยุโรปอีกด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยตั้งอยู่บนความร่วมมือยาวนานในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าการลงทุน การพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม และสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ทั้งสองฝ่ายได้ยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการลงนามในความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นสวน และความร่วมมือรอบด้านระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทย (EU-Thailand Partnership and Cooperation Agreement: PCA) และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ยังมีการประกาศเริ่มต้นการเจรจาจัดความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยใหม่อีกครั้งด้วย