เดินหน้า'แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.'เร่งหาข้อสรุปภายใน พ.ค.ชี้ยิ่งช้าหนี้ยิ่งเพิ่ม
หลังจากที่ประชาชนต่างเฝ้ารอว่า เมื่อไหร่จะได้ใช้รถเมล์ใหม่ ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก ครั้งที่ 1/2564 ผ่านไป แนวทาง “แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.” ที่เฝ้ารอกันมานานก็เริ่มคืบหน้าอีกครั้ง เมื่อที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทางานฯ ในการพิจารณาเพื่อปรับแผนแนวทางการปฏิรูประบบรถโดยสารประจาทางในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมถึงหาข้อยุติต่อการตั้งข้อสังเกตจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าความคืบหน้าของ “แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.” หรือ แผนฟื้นฟูองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก ครั้งที่ 1/2564 ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทางานฯ ในการพิจารณาเพื่อปรับแผนแนวทางการปฏิรูประบบรถโดยสารประจาทางในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า คณะทางานชุดนี้มีนายชัยวัฒน์ ทองคาคูณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และนายจิรุฒม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นเลขานุการคณะทางาน โดยมีสานักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดาเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน คาดว่าจะได้ข้อยุติในเดือนพฤษภาคมนี้ ทั้งนี้รวมไปถึงการหาข้อสรุปในบางประเด็นจากการตั้งข้อสังเกตหรือข้อกังวลของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ “แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.” ด้วย ต่อจากนั้นจะดาเนินการจัดทาแผนลงทุนดังกล่าวเพื่อเสนอต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาและเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ ขสมก. ขอรับเงินสนับสนุน (PSO) ในแผนฟื้นฟูฯ ปี 2565-2571 ระยะเวลา 7 ปี รวมเป็นเงินประมาณ 9,674 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังตั้งข้อสังเกตว่าเงินสนับสนุน (PSO) รัฐจะดาเนินการได้ก็ต่อเมื่อมีการจากัดราคาค่าโดยสารเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งที่ผ่านมามีการจากัดราคาค่าโดยสารและทาให้ ขสมก.ขาดทุน แต่แผนฟื้นฟูฯ ซึ่งเสนอในครั้งนี้ไม่ใช่การจากัดราคาค่าโดยสารเพื่อประชาชน หากแต่ดาเนินการตามแผนปฏิรูประยะเวลา 7 ปี แต่สาเหตุที่ยังต้องขอรับเงินสนับสนุน (PSO) เนื่องจาก ขสมก. ยังมีประเด็นเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานที่จะทยอยเกษียณอายุ ทั้งนี้พนักงานในระบบการจ้างเดิมมีอัตราค่าจ้างที่สูงเพราะมีการปรับค่าตอบแทนเพิ่มทุกปี โดยหลังจากนี้การรับพนักงานใหม่เพื่อทดแทนพนักงานที่เกษียณอายุจะเป็นรูปแบบของ Outsource ซึ่งจะส่งผลให้สามารถควบคุมสภาพการจ้างให้มีอัตราค่าใช้จ่ายที่คงที่ได้
“เมื่อได้คณะทางานแล้วจะเร่งดาเนินการทุกอย่างให้ได้ข้อยุติ เพื่อไม่ทาให้แผนฟื้นฟูฯ ล่าช้าออกไปอีก เพราะหากล่าช้าก็จะยิ่งทาให้ ขสมก. ขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันนี้ ขสมก.ขาดทุนประมาณ 300 ล้านบาทต่อเดือน หรือขาดทุนราว 4,000 ล้านบาทต่อปี”รมว.คมนาคมกล่าว
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดเผย “แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.” ซึ่งมีการปรับแผนจากการซื้อรถเมล์ใหม่ เปลี่ยนเป็นการจัดเช่ารถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าแทน และให้บริการวิ่งในเส้นทางเดินรถที่มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางตามที่กรมการขนส่งทางบกแบ่งใหม่ เป็นของ ขสมก. 108 เส้นทาง และของเอกชนอีก 54 เส้นทาง รวมระยะเวลา 7 ปี ซึ่งจะเป็นการจ่ายค่าจ้างตามกิโลเมตรที่วิ่งให้บริการจริง ในอัตราที่ ขสมก. กาหนด และยังมีการกาหนดอัตราค่าโดยสารเป็นอัตราเดียว (Single Price) ในอัตรา 30 บาท/คน/วัน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน โดยยังคงมีทางเลือกสาหรับค่าโดยสารแบบเที่ยวเดียวไว้ให้ด้วย