MONEY

โดย กองบรรณาธิการ M2F

24 กันยายน 2563 : 18:30 น.

“บัตรแรบบิท” ตอกย้ำความเป็นผู้นำ “สมาร์ทการ์ด” สำหรับคนเมือง พร้อมก้าวสู่ปีที่ 9 ด้วยการเดินหน้าพัฒนาสู่เป้าหมายเพื่อการเป็น “One for All” ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนเมืองยุค New Normal ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มการเดินทาง

คุณไอรินทร์ อริยพงศ์สถิต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางของบัตรแรบบิทในปีที่ผ่านมา ว่า เราได้เปิดตัวบัตรแรบบิทในฐานะสมาร์ทการ์ด ที่ให้ความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส และร้านค้าพันธมิตรต่างๆ ไปแล้ว และวันนี้บัตรแรบบิทได้กลายเป็นบัตรที่ใช้สำหรับการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในระบบขนส่งมวลชน ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจบริการ ในหลายๆ รูปแบบ โดยมุ่งมั่นที่จะวางบทบาทของบัตรใบนี้ ให้ตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

“8 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ออกบัตรแรบบิทไปแล้วกว่า 14 ล้านใบ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด เราเองก็เตรียมพร้อมรับมืออย่างเต็มที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือบัตรให้ได้มากที่สุด ให้บัตรแรบบิทเป็นบัตรเดียวที่สามารถใช้ได้ทั้งช้อป กิน และเที่ยว ลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเงินสด โดยเราได้ขยายการชำระเงินไปสู่ระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ นอกเหนือจากรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่ว่าจะเป็น ไมโครบัส Y70E (หมอชิต – ศาลายา) รถโดยสารประจำทางในหัวเมืองต่าง ๆ ทั้ง ภูเก็ตสมาร์ทบัส โพธิ์ทองบัส (สงขลา – หาดใหญ่) และ RTC เชียงใหม่ รถประจำทางสาย 51 (ปากเกร็ด – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) สาย 52 (ปากเกร็ด – บางซื่อ) สาย 104 (ปากเกร็ด – หมอชิต 2) สาย 147 (วงกลมเคหะธนบุรี) สาย 150 (ปากเกร็ด – บางกะปิ) และสาย 167 (เคหะธนบุรี – สวนลุมพินี) รวมไปถึงเรือโดยสาร ได้แก่ เรือคลองภาษีเจริญ เรือข้ามฟาก (ท่าพระจันทร์ – ท่ามหาราช) เรือเจ้าพระยาทัวริสท์โบ๊ท (ธงฟ้า) และเรือด่วนปรับอากาศ (ธงแดง) ดังนั้น เราจึงต้องการชี้จุดยืนให้ชัดเจนว่า บัตรแรบบิท เป็นบัตรใบเดียวที่ใช้จ่ายค่าโดยสารขนส่งสาธารณะได้หลากหลายที่สุด”คุณไออินทร์กล่าว

ทั้งนี้ ในส่วนของร้านค้าและบริการ ผู้ถือบัตรสามารถใช้แทนเงินสดเพื่อซื้ออาหาร เครื่องดื่ม และความบันเทิง บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าขยายพันธมิตรร้านค้า จนปัจจุบันมีร้านค้าพันธมิตรมากถึง 550 แบรนด์ พร้อมจุดให้บริการกว่า 15,000 จุด ครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้านชา กาแฟ ศูนย์อาหาร รวมถึงร้านอาหารประเภท Quick Service Restaurant (QSR) เกือบทุกแบรนด์ทั่วประเทศ อาทิ สตาร์บัคส์, เคเอฟซี, อินทนิล, ทิม ฮอร์ตันส์, บาร์บีคิวพลาซ่า, วัตสัน, บู้ทส์, ซูรูฮะ, เอสเอฟ, เอช แอนด์ เอ็ม ฯลฯ

ร้านในเครือไมเนอร์ฟู้ด (Minor Food) เช่น บอนชอน, เบอร์เกอร์ คิง, แดรี่ควีน, เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, ซิซซ์เล่อร์, สเวนเซ่น, เดอะ คอฟฟี คลับ, เบซิล ฯลฯ  ร้านในเครือซีอาร์จี (CRG) เช่น อานตี้ แอนส์, ชาบูตง, โคล์ดสโตน, คัตสึยะ, เคเอฟซี, มิสเตอร์ โดนัท, เปปเปอร์ ลันช์, เทนยะ, เทอร์เรซ, โยชิโนยะ ฯลฯ ร้านในเครือมัดแมน (Mudman) เช่น โอบองแปง, บาสกิน ร็อบบิน และ ดันกิน  โดยผู้ถือบัตรแรบบิททุกใบ จะได้รับส่วนลดพิเศษ หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ มากมาย ทำให้บัตรแรบบิทตอบโจทย์ความเป็น “One for All” โดยแท้จริง

นอกจากนี้ บัตรแรบบิทยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสนองความต้องการของภาคธุรกิจอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ห้างร้าน หรือองค์กรต่างๆ โดยบัตรแรบบิทสามารถที่จะเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งาน เพื่อเป็นบัตรเข้า - ออกอาคาร (Access Control) ใช้ชำระค่าอาหารเครื่องดื่มภายในโรงเรียน หรือองค์กร (Canteen Solution) เป็นบัตรประจำตัวพนักงาน (Employee ID card) หรือเป็นบัตรประจำตัวนักเรียน (Student ID card) โดยมีบริษัทและองค์กรชั้นนำต่างๆ ที่ใช้บัตรแรบบิท เช่น บริษัท สหพัฒนพิบูล จํากัด (มหาชน) บริษัท สิงห์ เอสเตท จํากัด (มหาชน) บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ และคอนโดมิเนียมชั้นนำต่างๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยบัตรแรบบิทใบเดียวกันนี้ ยังสามารถจ่ายค่าโดยสารขนส่งสาธารณะ และจ่ายค่าสินค้า บริการต่าง ๆ ได้อีกด้วย เพียงเติมเงินเข้าบัตรแรบบิทก็สามารถใช้งานได้ทันทีในด้านการเติมเงิน บริษัทฯ ได้เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ถือบัตรมากขึ้น ด้วยการขยายจุดเติมเงิน จากเดิมที่เติมเงินได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถโดยสารด่วน

อย่างไรก็ตาม พิเศษบีอาร์ที วันนี้ ผู้ถือบัตรแรบบิทสามารถเติมเงินกับพนักงานเก็บค่าโดยสารบนรถโดยสารสมาร์ทบัส สาย 51, 52, 104, 147, 150, 167 และร้านค้าพันธมิตรอย่าง แมคโดนัลด์ 219 สาขาทั่วประเทศ เคอรี่ เอ็กซ์เพรส 423 สาขาในกรุงเทพฯ และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ เช่น เทสโก้โลตัส เอ็กเพลส มินิบิ๊กซี ลอว์สัน108 รวมไปถึงศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ได้แก่ ศูนย์อาหารในเครือเดอะมอลล์ เครือซีพีเอ็น และอื่น ๆ อีกมากมาย และยังมีตู้เติมสบายพลัส ที่อำนวยความสะดวกในบริเวณเส้นทางเดินรถสมาร์ทบัสสาย 104 และ 150 อีกด้วย

นอกจากนั้น เพื่อให้การเติมเงินนั้นเป็นเรื่องง่าย บริษัทฯ กำลังพัฒนา โมบายแอพลิเคชั่น ให้กับผู้ถือบัตรแรบบิทได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยจะสามารถใช้งานกันได้ภายในต้นปีหน้านี้” คุณไอรินทร์ กล่าวปิดท้ายที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า บัตรแรบบิทเติบโตอย่างต่อเนื่อง และ บริษัทฯ ยังมุ่งมั่นจะทำให้บัตรแรบบิทเป็นบัตรใบเดียว “One for All” ที่ครอบคลุมการชำระเงินในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งสาธารณะ  สินค้า และบริการต่างๆ ที่มาพร้อมความสะดวก สบาย รวดเร็ว ง่าย ประหยัดทั้งเงินและเวลา ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ