MONEY

โดย กองบรรณาธิการ M2F

29 สิงหาคม 2562 : 16:41 น.

เส้นทาง 25 ปีของอีคอมเมิร์ซ

“จะมีคนเลือกซื้อสินค้าออนไลน์จริงๆ เหรอ”

นาเกช เทวตา ผู้จัดการทั่วไปด้านการค้าข้ามพรมแดน ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ PayPal ให้ข้อมูลว่า นี่เป็นคำถามที่เด็กจบใหม่จากมหาวิทยาลัย Swarthmore สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ชื่อ กาย เฟอร์โนล์ด ถูกถามตอนเข้าทำงานในบริษัทเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแรกๆ ของโลก NetMarket ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2537 ฟังดูเป็นเรื่องตลกในวันนี้ ทว่าในตอนนั้นเฉพาะนักวิชาการกับกลุ่มคนที่ชอบอินเตอร์เน็ตเท่านั้นที่ใช้อินเตอร์เน็ตกัน โดยที่พวกเราที่เหลือต่างพากันไปห้างสรรพสินค้า

จากเรื่องราวของความขัดแย้งทางการเมืองและธุรกิจในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2533 หลังจากที่สงครามเย็นจบลง โลกตะวันตกได้รับชัยชนะจากการที่มีตลาดการค้าเสรีและสังคมที่มีอิสรภาพรวมกันเป็นเสาหลักที่คอยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ขณะนั้นเองที่ อีคอมเมิร์ซ เข้ามามีบทบาทและแสดงให้โลกได้เห็นถึงแง่มุมใหม่ที่มีสิทธิเสรีภาพและมีส่วนต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาบริหารระบบอินเตอร์เน็ตต่อจากการจัดการของกองทัพในปี พ.ศ. 2528 และภายในช่วงต้นปีของ พ.ศ. 2533 ตัวเลขของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เพิ่มมากขึ้นจาก 2,000 เป็น 2 ล้านหลังคาเรือน ในช่วงเวลาที่ไม่ถึง 1 ทศวรรษ หลังจากนั้นรัฐบาลสหรัฐก็ได้รับผลกระทบจากสภาวเศรษฐกิจซบเซาในช่วงปี พ.ศ. 2534 รัฐบาลจึงได้พยายามที่จะทำเศรษฐกิจกลับมาดีอีกครั้ง โดยการเปิดการค้าเสรีทั่วโลกขึ้น ด้วยการบริหารภายใต้การนำของประธานาธิบดีคลินตันที่ได้ตัดสินใจให้การซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตเป็นอิสระ ยกเลิกค่าธรรมเนียมการเข้าถึง กำหนดพื้นที่ความเป็นไปได้ และทำให้การเข้ารหัสคีย์สาธารณะ (public-kay encryption) เป็นเรื่องถูกกฎหมาย

ร้านอีคอมเมิร์ซแห่งแรกคือร้านขายแผ่นซีดีเล็กๆ อยู่ที่เมืองนิวแฮมป์เชอร์ ประเทศอังกฤษ ชื่อ NoteWorthy และลูกค้าคนแรกคือเด็กนักเรียนจากมหาวิทยาลัย Swarthmore ชื่อว่า ฟิว แบรนดอนเบอร์เกอร์ ผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ NetMarket เพื่อที่จะซื้อแผ่นซีดีของวง Sting ออนไลน์ โดยการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ที่ในยุคนั้นถือเป็นเรื่องเหลือเชื่อและน่าตื่นเต้น จนถูกนำไปทำเป็นบทความบนนิตยสาร New York Times เลยทีเดียว

สำหรับพวกเราส่วนใหญ่แล้วการเชื่อถือเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนั้นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เพราะเราไม่เชื่อในการช้อปปิ้งออนไลน์ตั้งแต่แรก

โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจในช่วงต้นปี พ.ศ. 2533 ได้ทำให้อีคอมเมิร์ซมีความเป็นไปได้มากกว่าการเข้ารหัสแบบธรรมดา ทั่วไป (encryption) เพราะในปี พ.ศ. 2533 นั้นเองเป็นช่วงที่ระบบรักษาความปลอดภัยของการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้เริ่มต้นขึ้น โดยหลักทรัพย์ของบัตรเครดิตมีเพียงแค่ร้อยละ 1 ในสหรัฐอเมริกา แต่ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่การชำระค่าสินค้าและบริการอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้บัตรเครดิตนั้นง่ายกว่าที่เคยมีมาก่อน

ถ้าบัตรเครดิตสามารถใช้ชำระสินค้าและบริการได้ การจัดการระบบปฏิบัติการหลังบ้านจะทำให้การกระจายสินค้าเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ในช่วงปี พ.ศ. 2513 ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง วอลมาร์ท ได้ประสบความสำเร็จในการ

เข้าถึงตลาดโดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์จัดการกับสินค้าและการขนส่ง ซึ่ง 10 ปีต่อมา ทุกบริษัทพยายามทำตามและเริ่มจัดการกับระบบปฏิบัติการหลังบ้าน ในขณะที่อีคอมเมิร์ซเริ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2533 นักธุรกิจต่างทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามใช้ข้อมูล (data) ที่มี่อยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร่างใช้ ข้อตกลงมาร์ราเกช (Marrakesh Agreement) และเริ่มใช้ ในปี พ.ศ. 2538 โดยมี 123 ประเทศในสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization) เข้าร่วม ทำให้การซื้อขายเป็นไปอย่างคล่องตัวกว่าที่เคยเป็นมา เศรษฐกิจได้เชื่อมโยงเข้าถึงกัน และในช่วงกลางยุค 90 นั้นไม่มีสงครามใหญ่หลวงและการเมืองมีความมั่นคงเสถียร ซึ่งถือว่าผิดปกติในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ช่วงเวลานี้กลับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับอีคอมเมิร์ซ และดูเหมือนว่าอีคอมเมิร์ซจะไปด้วยกันได้ดีกับชัยชนะของระบบประชาธิปไตยเสรีนิยมและระบบทุนนิยมโลจิสติกส์

ในทุกวันนี้ เราต่างทราบดีว่า เราไม่สามารถกำหนดความเป็นไปของอินเตอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ซได้ และยังมีปัญหาพื้นฐานที่คล้าย ๆ กับในปี พ.ศ. 2537 คือการขาดความเชื่อถือ โดยความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคและความปลอดภัยในการทำธุรกรรมยังถือเป็นความท้าทายต่ออีคอมเมิร์ซทั่วโลก เป็นปัญหาที่คาดว่าจะไม่สามารถคลี่คลายได้ง่าย ๆ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเอง ยังได้มีความพยายามที่จะปรับสมดุลระหว่าง ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคและกิจการค้าเชิงพาณิชย์เพื่อสิทธิเสรีภาพและการค้าเสรี ความขัดแย้งของระบบทุนนิยมและสังคมนิยมนั้นจะคงสุมอยู่ใต้หน้ากากต่อไป

ข้อมูลที่น่าสนใจตลอด 25 ปีของคอมเมิร์ซ

พ.ศ. 2537 แดน คอน ผู้ประกอบการหนุ่มอายุ 21 ปี ทำธุรกรรมออนไลน์เป็นครั้งแรกในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2537 โดย แดน คอนได้ขายแผ่นซีดีเพลงของวง Sting อัลบั้ม Ten Summoner’s Tales ให้เพื่อนของเขาผู้ที่ใช้บัตรเครดิตซื้อในราคา 12.48 ดอลล่าสหรัฐ ไม่รวมค่าจัดส่ง ธุรกรรมครั้งนั้นได้รับการป้องกันโดยเทคโนโลยีการเข้ารหัส (encryption) (ข้อมูลจาก Fastcompany.com)

พ.ศ. 2538 บริษัทผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซระดับโลกอย่าง อีเบย์ ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า AuctionWeb โดยปิแอร์ โอมิดดียาร์ประสงค์ที่จะสร้างตลาดออนไลน์ขึ้นมา โดยเขียนเว็บโค้ดเสร็จครั้งแรกในเวลาเพียง 1 อาทิตย์ (ข้อมูลจาก eBayInc.com)

พ.ศ. 2541 บริษัทเพย์พาลเปิดตัวระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์

พ.ศ. 2547 บล็อกบัสเตอร์ วีดีโอ ได้เปิดให้บริการติดตามชมภาพยนตร์และเล่นเกมออนไลน์อย่างเป็นทางการ ถึงแม้ว่าจะปิดตัวลงไปแล้วแต่ บล็อกบัสเตอร์ วีดีโอ ถือเป็นบริษัทแรกที่ได้ริเริ่มพัฒนาระบบที่ให้บริการความบันเทิงแบบจ่ายรายเดือนที่เราใช้มาจนถึงปัจจุบันอย่าง Netflix และ Amazon Prime (ที่มา medialounge.co.uk)

พ.ศ. 2547 Shopify บริษัทอีคอมเมิร์ซสัญชาติแคนาดา ผู้สนับสนุนผู้ค้าออนไลน์ ได้เปิดร้านค้าออนไลน์เพื่อจัดจำหน่ายสโนว์บอร์ด ปัจจุบัน Shopify ได้รายงานว่ามีธุรกิจมากกว่า 800,000 ธุรกิจใน 175 ประเทศทั่วโลกใช้แพลตฟอร์มของ Shopify ซึ่งมูลค่ายอดรวมสินค้าทั้งหมดสูงกว่า 41.1 พันล้านดอลล่าสหรัฐในปี 2561 (ที่มา Techvibs.com)

พ.ศ. 2549 ไคล์ แมคโดนัลด์ บล็อกเกอร์ชาวแคนนาดา นำคลิปหนีบกระดาษหนึ่งชิ้นไปแลกเป็นบ้านได้หนึ่งหลัง ผ่านระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าออนไลน์เป็นจำนวน 14 ครั้ง ในเวลา 1 ปี (ที่มา CBC.ca)

พ.ศ. 2549 สินค้าที่มีมูลค่ามากที่สุดที่ถูกซื้อบนเว็บไซต์ อีเบย์ มีมูลค่าสูงถึง 168 ล้านดอลล่าสหรัฐ ซึ่งเป็นเรือยอร์ชที่มีชื่อว่า Gig โดยมีความยาวกว่า 123 เมตร ออกแบบโดยสถาปนิกนาวิกโยธินที่ชื่อ แฟร์ค มัลเดอร์ ซึ่งได้ขายให้มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย โรมัน อับราโมวิช (ที่มา Financesonline.com)

พ.ศ. 2552 ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้สร้างเงินตราแบบดิจิทัล ชื่อว่า บิตคอยน์ ขึ้นในวันที่ 3 มกราคม (อ้างอิงจาก The New Yorker)

พ.ศ. 2554 นักร้องชื่อดังชาวแคนนาดา จัสติน บีเบอร์ ได้ตัดผมขายผ่านเว็บไซต์ อีเบย์ โดยมี เอลเลน ดีเจนเนอริส เป็นผู้วางขายในราคา 40,668 ดอลล่าสหรัฐ (อ้างอิงจาก CBSNews.com)

พ.ศ. 2556 หนุ่มร็อคโลกจากวง คิส (KISS) จีน ซิมมอนส์ ขายหมากฝรั่งด้วยมูลค่าอยู่ที่ 250,000 ดอลล่าสหรัฐ (อ้างอิงจาก UltimateClassicRock.com)

พ.ศ. 2560 50 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจออนไลน์ที่เปิดตัวที่ประเทศแคนาดาใน 2 ปีที่ผ่านมา มีเจ้าของเป็นผู้หญิง (อ้างอิงจาก วิจัยสาวนักธุรกิจผู้บุกเบิกที่แคนนาดาของ บริษัทเพย์พาล)

พ.ศ. 2560 แม้ว่า 4 ใน 5 ของผู้คนในแคนาดาซื้อของออนไลน์ แต่มีร้านค้าเอสเอ็มอีไม่ถึงหนึ่งในห้า (17 เปอร์เซ็นต์) ที่มีระบบการชำระสินค้าออนไลน์ เช่น ใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์สื่อกลางการติดต่อซื้อ – ขาย (electronic – marketplaces) และ เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (อ้างอิงจาก วิจัย บริษัทเพย์พาล)

พ.ศ. 2561 มีผู้เข้าใช้งานเพย์พาล มากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก (ข้อมูลจาก บริษัทเพย์พาล)

พ.ศ. 2561 ไซเบอร์มันเดย์ ในวันที่ 2 ธันวาคม นักช้อปออนไลน์ชาวอเมริกันใช้จ่ายถึง 7.9 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ทำให้วันนั้นเองเป็นวันที่มีคนใช้จ่ายธุรกรรมออนไลน์มากที่สุดเท่าที่สหรัฐอเมริกาเคยบันทึกมา (ข้อมูลจาก Adobe Analytics)

พ.ศ. 2561 87 เปอร์เซ็นต์ ของชาวแคนาดาซื้อของออนไลน์ โดย 46 เปอร์เซ็นต์ ช้อปผ่านแพลตฟอร์มบนโทรศัพท์ (ข้อมูลจาก Cira.ca)

ประวัติศาสตร์ของอีคอมเมิร์ซได้มาจากการค้นคว้าข้อมูลโดย Cornell และ PayPal ในการฉลอง 25 ปีของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์นักเทคโนโลยี นักธุรกิจผู้บุกเบิก และผู้กำหนดนโยบาย มากกว่า 100 คน รายงานฉบับนี้ได้มาจากรายงานที่กำลังจะถูกตีพิมพ์ในอนาคต

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ