MONEY

โดย กองบรรณาธิการ M2F

08 พฤศจิกายน 2561 : 15:39 น.

นิตยสาร MBA ร่วมกับ บริษัท SIAM ICO และ SME Bank เปิดเวทีระดมสมอง เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง

ดร.สันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม องค์ปาฐกถา กล่าวว่า ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา คำว่า Blockchain ถูกพูดถึงในทุกวงการ เพราะเชื่อกันว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกได้แบบเดียวกับที่อินเทอร์เน็ตเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งโดยหลักคิดของเทคโนโลยี Blockchain จะแตกต่างจากแนวคิดในรูปแบบระบบรวมศูนย์ หรือ Centralization ที่มีศูนย์กลางในการควบคุมส่วนต่างๆ ของระบบ แต่หลักแนวคิดของเทคโนโลยี Blockchain จะมีวิธีคิดแบบระบบกระจายศูนย์ หรือ Decentralization

ทั้งนี้ ระบบที่นำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้มีความเสถียรและมั่นคงสูง เพราะหากจะแฮกเครือข่าย Blockchain ให้ได้ต้องเจาะระบบของเครื่องในเครือข่ายให้ได้เป็นจำนวนมาก เหตุนี้อุตสาหกรรมในภาคธุรกิจต่างๆ จึงหันมาใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น จากข้อมูลสถิติเรื่องมูลค่าการลงทุนในเทคโนโลยี Blockchain พบว่า มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากสถาบันการเงินสนใจทั้งด้านการวิจัยพัฒนาระบบ และการร่วมลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของ World Economic Forum (WEF) คาดว่า ภาครัฐของประเทศต่างๆ จะนำร่องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ก่อนภายในปี 2023และจะนำมาใช้อย่างแพร่หลายภายในปี 2027 ดังนั้น เทคโนโลยีบล็อกเชน จึงเป็นสิ่งที่มีอนาคต และหากสามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์จะเป็นประโยชน์ต่อกิจการ องค์กรและระบบเศรษฐกิจอย่าง

ด้าน นายทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท สื่อดี จำกัด บรรณาธิการผู้ก่อตั้งนิตยสาร MBA กล่าวว่า เทคโนโลยี บล็อกเชน ที่เห็นความเติบโตและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้ว คือ ในภาคของ Cryptocurrencies รวมไปถึงการ ระดมทุนในรูปแบบ ICO แม้แต่ สำนักงานคณะกรรมกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ของประเทศไทย ก็ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อรับรองว่า เทคโนโลยี บล็อกเชน สามารถเป็นเครื่องมือ ที่ยอมรับได้ในการระดมทุนในปีนี้

นายปฐม อินทโรดม CEO บริษัท สยามไอซีโอ จำกัด กล่าวว่า สยามไอซีโอพร้อมให้บริการด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ยุคดิจิทัล หรือ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งในด้านบล็อคเชน บิ๊กดาต้า เอไอ พร้อมให้คำปรึกษาด้านการระดมทุนผ่านไอซีโอ โดยให้คำแนะนำในการสร้างระบบดิจิทัลอีโคซีสเต็มส์ และแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ

ทั้งนี้ สยามไอซีโออยู่ระหว่างการจดทะเบียนเป็นไอซีโอพอร์ทัลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อดำเนินธุรกิจไอซีโอพอร์ทัลตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. โดยมีไอซีโอที่ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาให้อยู่ในปัจจุบันแล้ว 3-5 โครงการ และตั้งเป้าอีก 15 โครงการในปี 2562

ข่าวเด่น

ข่าวที่น่าสนใจ