สสส.ผนึก 18 หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน รุกแก้ไขปัญหาฝุ่นกลางเมืองหลวง ชูโมเดล “อากาศสะอาดเขตปทุมวัน” เป็นพื้นที่ต้นแบบลด PM 2.5 ปั้นระบบตรวจสอบสภาพรถ-บริการรถพลังงานไฟฟ้าสาธารณะ-เซ็นเซอร์วัดมลพิษแบบเรียลไทม์
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเขตปทุมวัน กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดพิธีเปิดโครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเขตปทุมวัน ตามโครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน ร่วมกับ 18 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการตารวจจราจร สถานีตารวจนครบาลปทุมวัน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สานักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สมาคมราชกรีฑาสโมสร บริษัท เออร์เบินโมบิลิตี้ เทค จากัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จากัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จากัด (มหาชน) บริษัท สยามพิวรรธน์ จากัด บริษัท เอ็มบีเค จากัด (มหาชน) บริษัท ลิโด้ คอนเน็คท์ จากัด โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ บริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศ ไทย และศูนย์วิชาการเ เพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนา แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อฟื้นฟูอากาศสะอาดกลับคืนสู่พื้นท่ีเขตกรุงเทพมหานครอย่างเร่งด่วน
นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กทม.มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการก่อสร้างถนน รถไฟฟ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทย กรุงเทพมหานครจึงมีนโยบายและแผนรองรับปัญหา ภายใต้แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) มุ่งเป้าให้กรุงเทพมหานครลดค่าฝุ่นละอองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ที่ผ่านมา ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ทั้งมาตรการระยะสั้น อาทิ เพิ่มมาตรการตรวจจับรถควันดำ ห้ามเผาหญ้าหรือขยะในที่โล่ง และมาตรการระยะยาว อาทิ ปรับปรุงมาตรฐานการระบายไอเสียรถยนต์ใหม่ จัดหาพื้นที่จอดแล้วจรให้เพียงพอเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนมากยิ่งขึ้น
“การร่วมมือกับ สสส. และภาคีเครือข่าย ริเริ่มโครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน ครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงความพร้อมในการร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานคร จากการสร้าง “พลังทวีคูณ” บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนกันและกัน เน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน มุ่งเป้าเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมภายในเดือนกันยายน 2565 โดยจะมีการติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินการของโครงการเป็นรายเดือน” นายชาตรี กล่าว
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางอากาศต้นเหตุสำคัญในการกระตุ้นให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งคิดเป็น 3 ใน 4 ของการเสียชีวิตจากทั้งหมดของประเทศ สสส. จึงมุ่งขับเคลื่อนการทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน ถือเป็นการนำแนวคิดของเขตควบคุมมลพิษต่ำ (Low Emission Zone) ที่มีต้นแบบจากลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาประยุกต์ใช้ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ โดยสร้างความร่วมมือในการตรวจสอบสภาพรถที่อาจปล่อยมลพิษทางอากาศ รวมถึงเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมการใช้รถสาธารณะพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
“โครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน มุ่งพัฒนานวัตกรรม 3 ข้อ ได้แก่ 1.ระบบฐานข้อมูลออนไลน์กรุงเทพธุรกิจอากาศสะอาดต้นแบบ (BMA-BLEZ) เพื่อรายงานผลการตรวจสอบสภาพรถของผู้ที่ใช้รถในเขตปทุมวัน 2.บริการรถสาธารณะพลังงานไฟฟ้า พร้อมจุดจอดบริการแก่ประชาชนบริเวณศูนย์การค้า สถานประกอบการ และจุดต่างๆ ในพื้นที่ และ 3.ระบบเซ็นเซอร์วัดค่า PM 2.5 เฉพาะจุด ที่สามารถแสดงผลทันที เพื่อให้คนในพื้นที่ทราบค่าคุณภาพอากาศได้ผ่านจอแสดงผลขนาด 50 นิ้ว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เกี่ยวข้องกับ PM 2.5 อย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การฟื้นฟูอากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะของประชาชนที่ดีขึ้น” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว