ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ เดินหน้าแถลงผลงานพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ผ่านการขับเคลื่อนโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”
เมื่อ 15 ธ.ค. ที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานในพิธีเปิดโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวรายงาน พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) จังหวัด ปทุมธานีจำนวน 16 ตำบล และยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นจำนวน 4 ตำบล
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถาบันที่มุ่งมั่น และมีนโยบายในการ ทำงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยในปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) ให้ตรงตามเป้าหมายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยเริ่มลง พื้นที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบทั้งหมดทุกพื้นที่กว่า 48 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี 16 ตำบล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 18 ตำบล และจังหวัดสระแก้ว 14 ตำบล
พร้อมกันนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ยังได้มอบนโยบายแนวทางการสร้างความ ร่วมมือการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของจังหวัดปทุมธานีแก่มหาวิทยาลัย หน่วยงาน ส่วนราชการ และผู้เข้าร่วมงานอีกด้วย
หลังจากนั้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี และหน่วยงานส่วนราชการได้เดินเยี่ยมชมผลการ ดำเนินงานรายตำบลจังหวัดปทุมธานี ซึ่งภายในจุดแสดงผลงานประกอบด้วยผลงานการพัฒนาท้องถิ่นใน โครงการ VRU U2T จำนวน 16 ตำบล และยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 4 ตำบล รวมทั้งสิ้น 20 ตำบล แต่ละจุดการนำเสนอจะมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการในตำบลนั้น ๆ รวมกับผู้ถูกจ้าง งานซึ่งอยู่ในโครงการการจ้างงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม คอยให้ข้อมูล และนำเสนอผลงานที่น่าสนใจที่ทางมหาวิทยาลัยได้เข้าไป พัฒนาในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ และชุมชนได้รับการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการจัด แสดงผลงานของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ เป็นสัญญาณที่ดี ที่ทางจังหวัดปทุมธานี และหน่วยงานส่วนราชการทุก แขนง จะได้รับรู้ผลการดำเนินงาน และบูรณาการภาคีเครือข่ายร่วมมือกันในการพัฒนาชุมชนต่อไปในอนาคต เพื่อให้ประชาชนในชุมชน ได้รับผลประโยชน์ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า โครงการนี้เกิดจาก อว.จัดงบประมาณมาให้มหาวิทยาลัย เพื่อจ้างงานประชาชนและนักศึกษาให้ลงทำงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตลอดระยะเวลา1ปี มีผลงานเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง พัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้กับชุมชนและรวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น"ช่วงปีที่ผ่านมาประชาชนได้รับผล กระทบในเรื่องของโรคระบาดโควิด-19 มหาวิทยาลัยได้ชวนคนในท้องถิ่นที่ว่างงานให้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน โดยเฉพาะตำบล ให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น บางตำบลเพิ่มรายได้มากถึง100เปอร์เซนต์ ส่วนในปีหน้ามีโครงการ"อว.จ้างงานเฟส2" กระตุ้นการลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีจำนวนมากพอ ขยายสู่ภายนอก เพิ่มรายได้ให้คนในชุมชนและกระตุ้นให้มีการจับจ่ายใช้สอย ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ