เลือกกินอย่างไรให้ดีต่อหัวใจ ดีต่อสุขภาพ
ย้อนกลับไปหลายร้อยปีก่อน โรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษยชาติไปหลายล้านคนมาจากโรคติดเชื้อเสียส่วนใหญ่ เนื่องจากยังไม่มียาปฏิชีวินะที่ดีและการแพทย์ที่เจริญเพียงพอ แต่ในปัจจุบัน สิ่งที่คร่ามนุษย์ทั่วโลกนาทีละ 34 คน หรือคิดเป็น 18 ล้านคนต่อปี นั้นมาจาก “พฤติกรรมการกิน” ของคนในปัจจุบันที่จะนำไปสู่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้คนทั่วโลกนั่นเอง
แม้จะดูอันตรายแต่ข่าวดีคือ แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากแล้วเช่นกัน
มาถึงคำถามสำคัญที่ทุกคนอยากรู้ แล้วเราจะทานอะไรได้บ้าง? ไก่ทอดกินได้ไหม? ทำกับข้าวด้วยน้ำมันหมู หรือน้ำมันพืชดี? ต้องกินแต่สลัดทุกวันเลยหรือเปล่า? ...มาหาคำตอบจากบทความตอนนี้กัน
นพ.ทินกฤต ศศิประภา แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ และอนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลนวเวช กล่าวว่า ก่อนจะอธิบายเรื่องอาหารที่ดีต่อหัวใจ ขออธิบายให้ชัดเจนก่อนว่า การรับประทานอาหารเพื่อหัวใจที่ดี กับการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนักนั้นเป็นคนละเรื่องกัน การลดน้ำหนักนั้นต้องลดปริมาณที่ทานเพื่อลดแคลอรี่ต่อวันที่ได้รับ แต่การรับประทานอาหารให้ดีต่อหัวใจนั้นเน้นไปที่คุณภาพอาหารที่ทานเสียมากกว่า
หลักการในการรับประทานอาหารที่ดีต่อหัวใจ ก็คือการรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งประกอบไปด้วย
1.) เน้นรับประทานที่มีการใยสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช และถั่ว (ไม่อบเกลือ)
2.) หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เนื่องจากความเค็มในอาหารเกิดจากโซเดียม (Sodium) การรับประทานโซเดียมในปริมาณมากจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมาได้
3.) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ (Trans fatty acid) ซึ่งเป็นไขมันที่ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดมากที่สุด ยกตัวอย่าง ได้แก่ อาหารที่มีส่วนผสมของมาการีน (เช่น เบเกอรี่ต่างๆ) อาหารทอด เป็นต้น
4.) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) เช่น เนื้อสัตว์ (เช่นหมู เนื้อวัว) น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ชีส ไอศกรีม แต่ให้รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวแทน(Unsaturated fatty acid) เช่น น้ำมันพืช เนื้อปลา เป็นต้น
5.) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความหวานสูง ๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำ energy drinks ต่างๆ เป็นต้น
6.) หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการผลิตมาก่อน เช่น เบคอน ไส้กรอก ฮอตดอก เป็นต้น
สรุปตัวอย่างอาหารตามตารางต่อไปนี้
โรงพยาบาลนวเวช มุ่งมั่นให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและเข้าถึงง่าย พร้อมดูแลสุขภาพของทุกคนอย่างเข้าอกเข้าใจ ด้วยบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย และทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพ สามารถขอรับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลนวเวช โทร.02 483 9999 I https://bit.ly/3zQzeQi