เจาะพฤติกรรมการกินอยู่ของคนไทยในปี 2019
ไม่ว่าจะปีไหนๆ โรคไม่ติดต่อ (non-communicable diseases : NCDs) ก็ยังคงครองแชมป์สาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชากรโลกและคนไทย ซึ่งสาเหตุที่สำคัญยังคงมาจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต ทั่วโลกมีคนตายด้วยโรค NCDs ปีละกว่า 40 ล้านคน คิดเป็น 71% ของการตายทั้งหมด โดยมีประมาณค่าความสูญเสียไว้สูงถึง 47 ล้านล้านดอลลอร์ ภายในปี 2573 หากยังไม่มีการแก้ไ
เช่นเดียวกับประเทศไทย ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกือบ 400,000 คน คิดเป็น 76% ของการตายทั้งหมด และ 50% ตายก่อนวัยอันควร คิดเป็นความสูญเสียถึง 2.2% ของ GDP ต่อปี ซึ่งสาเหตุก็มาจากพฤติกรรมการกินของคนไทย ซึ่งในปี 2019 มีเทรนด์อะไรผ่านเข้ามาในบ้านเราบ้าง มาดูกัน
วัยทำงานเน้นรสจัด วัยรุ่นเน้นรูปลักษณ์
จากการสำรวจพฤติกรรมของคนไทยบนโลกออนไลน์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2561 ผ่าน #อร่อย ไปแดก #อร่อยบอกต่อ และจาก Food Influencers จำนวน 90 accounts ซึ่งมีจำนวนข้อความทั้งหมด 5,826,452 ข้อความ พบว่า ในสื่อสังคมออนไลน์อย่าง facebook ซึ่งจากประชากร ในเฟซบุ๊ก จำนวน 48 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นคน Gen Y อายุ ประมาณ 19 – 36 ปี จึงพอจะอนุมานได้ว่า ในกลุ่มคน Gen Y ให้ความสนใจและมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ที่เป็นเมนูหรือวิธีการ ทำอาหารเมนูน่ากิน และเมนูที่มารสจัด เช่น ยำต่างๆ
ขณะที่ในทวิตเตอร์ ซึ่งมีประชากร 9 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัย Gen Z อายุระหว่าง 15-24 ปี ถึง 40% ที่นิยมใช้ พบว่า คนส่วนใหญ่มีปฏิสัมพันธ์ กับอาหารที่มีเอกลักษณ์หรือโดดเด่นมาก เช่น กุ้ง ล็อบสเตอร์ ซูชิปลาไทย เมนูแปลก ๆ เช่น แยมโซดา ร้านอาหารลับต่าง ๆ เช่น ร้านลูกชิ้นที่ไม่มีคนรู้จัก และ ชานมไข่มุก ทั้งนี้โดยภาพรวมของเทรนด์อาหารซึ่งเป็นที่ นิยมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า คนไทยยังคงนิยม รสชาติอาหารที่ได้รับความนิยมสูงคือ รสเผ็ด เช่น ยำหรือต้มยำต่างๆ และรสหวาน เช่น ขนมไทย ขนมเค้ก ต่างๆ ขณะที่ส่วนประกอบอาหารที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ กระแสไข่ดอง ปูดอง กุ้ง นอกจากนี้ยังพบแนว โน้มการกินอาหารสะดวกซื้อมากขึ้น ขณะที่แนวโน้ม อาหารเพื่อสุขภาพอย่างอาหารคลีนยังคงอยู่ในภาวะ คงที่สม่ำเสมอตั้งแต่ปี 2561
กินผักไม่เพียงพอ เน้นหวาน มัน เค็ม
อีไอซี หรือ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทำการวิเคราะห์เรื่อง “คนไทยกินอะไรกัน?” จากการสำรวจอนามัย สวัสดิการ และพฤติกรรมการบริโภค อาหารของประชากร ปี 2556 และปี 2560 โดยสำนักงานสถิติ แห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำรวจ ประชากรครั้งละ 27,960 คน ในเขตเทศบาลและนอกเขต เทศบาล พบพฤติกรรมการกินของคนไทยที่น่าสนใจ ดังนี้ คนไทยเลือกซื้ออาหารจากความชอบเป็นหลัก ในปี 2560 ปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเมื่อเลือกซื้อ อาหารเป็นอันดับหนึ่ง คือ ความชอบ (มีผู้ตอบ 22.1% ของกลุ่ม ตัวอย่างจากการสำรวจ) ตามมาด้วยรสชาติ (18.5%) ความ อยากกิน (18.2%) ความสะอาด (17.8%) คุณค่า (12.9%) ความ สะดวก (6.5%) โดย ราคาเป็นปัจจัยที่มีผู้ตอบน้อยที่สุดที่ 4% ผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนว่า คนไทยให้ความสำคัญกับ ความสุขจากการกิน สะท้อนจากการเลือกปัจจัย ความชอบความอยากกิน-รสชาติ มากกว่าคุณภาพของอาหาร ซึ่งสะท้อน จากการเลือกปัจจัยความสะอาด-คุณค่า โดยปัจจัยในกลุ่มที่ สะท้อนเรื่องความสุขจากการกิน มีผู้ตอบรวมกันอยู่ที่ 57.1%
ในปี 2556 และเพิ่มมาเป็น 58.8% ในปี 2560 ขณะที่คุณภาพ ของอาหารกลับมีสัดส่วนลดลงจาก 32.2% ในปี 2556 เหลือ เพียง 30.7% ในปี 2560 นอกจากนี้ ปัจจัยความชอบเพิ่ม ความสำคัญขึ้นมาอย่างมากจากสัดส่วนเพียง 17.7% หรือ เป็น ปัจจัยอันดับ 3 ในปี 2556 ขึ้นมาเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งในการ เลือกซื้ออาหารของคนไทยในปัจจุบัน แซงปัจจัยรสชาติซึ่งเป็น ปัจจัยอันดับหนึ่งในปี 2556 สะท้อนว่าสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน อาหารอร่อยอย่าง เดียวอาจไม่พอ ควรมีสิ่งอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น รูปแบบ การนำเสนอ ประสบการณ์ หรือการบริการ เป็นต้น ทั้งนี้ ราคา ยังคงเป็นปัจจัยรั้งท้ายจาก 7 ปัจจัยดังกล่าวสำหรับคนไทย มาตั้งแต่ปี 2556 คนไทยกินบ่อยขึ้น กินรสหวาน-เค็มมากขึ้น และกิน ผักผลไม้ลดลง คนไทยกินบ่อยขึ้น ในปี 2560 คนไทยส่วนใหญ่กว่า 89.4% กินอาหาร 3 มื้อต่อวัน สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 88.0% ในปี 2556 นอกจากนี้ สัดส่วนของคนที่กินอาหาร มากกว่า 3 มื้อก็เพิ่มขึ้นจาก 3.8% ในปี 2556 มาเป็น 4.1%
ในปี 2560 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในเพศหญิงและชาย และเพิ่มในหลายช่วงอายุ ได้แก่ เด็ก (6-14 ปี) วัยรุ่น (15-24 ปี) และคนวัยทำงาน (25-59 ปี) ยกเว้นผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) ที่กลับมีสัดส่วนการกินมากกว่า 3 มื้อที่ลดลง คนไทยกินรสหวาน เค็มมากขึ้น โดยสัดส่วนของ คนที่กินรสหวานเป็นอาหารมื้อหลักเพิ่มจาก 11.2% ในปี 2556 มาเป็น 14.2% ในปี 2560 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่ม อายุน้อยกว่า 25 ปีเป็นสำคัญ และยังพบการเพิ่มขึ้นใน ทุกภูมิภาค ขณะที่รสเค็มเพิ่มจาก 13.0% มาเป็น 13.8% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการบริโภคในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นหลัก ทั้งนี้รสชาติอาหารมื้อหลักของคนไทยมีลักษณะ ของการกินตามช่วงอายุ เช่น การกินรสหวานจะมีสัดส่วน สูงที่สุดในวัยเด็กที่ 32.5% ขณะที่ในกลุ่มวัยรุ่นและวัย ทำงานนิยมรสเผ็ดเป็นหลัก ในสัดส่วน 31.6% และ 34%
คนไทยบริโภคผักและผลไม้สดลดลง ถึงแม้ว่าคนไทย ส่วนใหญ่กว่า 98.8% จะมีการบริโภคผักและผลไม้ อย่างน้อย 1 วันในแต่ละสัปดาห์ โดยสัดส่วนดังกล่าวไม่ เปลี่ยนแปลงจากปี 2556 แต่สัดส่วนของคนที่กินผักและ ผลไม้ทุกวันกลับลดลง จาก 54.5% เป็น 41.1% โดย เป็นการลดลงในทุกกลุ่มอายุ เพศ และภูมิภาค อย่างไรก็ตาม คนไทยอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักกัน มากขึ้น และเพิ่มการกินอาหารเสริมสะท้อนถึงความ พยายามในการดูแลตัวเองที่มากขึ้น
‘เด็ก คนโสด คนทำงานบริษัท’ กินผักน้อย
การกินผัก ผลไม้ให้เพียงพอช่วยลดความเสี่ยงต่อโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่คนไทยยังกินผักน้อย มีงานวิจัยกว่า 20 รายงาน ครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างกว่า 10,948 คน พบว่า ผู้ที่บริโภคใยอาหารมากมีความเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colorectal adenoma) น้อยกว่ากลุ่มที่ บริโภคใยอาหารน้อยถึง 28% ซึ่งพบว่าการบริโภคใยอาหาร เพิ่มขึ้นวันละ 10 กรัม สามารถลดความเสี่ยงของการเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 9%3 อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาโครงการศึกษาพฤติกรรมการ กินผักและผลไม้ของคนไทย4 ในเดือนพฤษภาคม 2562 โดยการ สำรวจประชากร 3 ช่วงวัย ประกอบด้วย วัยเรียน อายุ 6-14 ปี วัยรุ่นและวัยทำงาน อายุ 15- 59 ปี และผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้น ไป ในพื้นที่ กทม.และ 4 ภูมิภาค รวม 7,957 คน พบว่า หาก ใช้เกณฑ์จากองค์การอนามัยโลก (ในแต่ละวันควรบริโภคผัก ≥ 3 ทัพพี ผลไม้ ≥ 2 ส่วน รวม ≥ 5 ส่วน) พบว่า กลุ่มวัยทำงานตอน กลางและตอนปลายผ่านเกณฑ์ โดยคนไทยกินผักและผลไม้ เพิ่มขึ้นตามกลุ่มอายุ และเริ่มลดลงเมื่อเข้าสู่ผู้สูงวัย อย่างไร ก็ตามหากใช้เกณฑ์ธงโภชนาการ (ผัก 4-6 ทัพพี ผลไม้ 3-5 ส่วน รวม ≥ 7 ส่วน ) ของกรมอนามัยจะพบว่า ทุกกลุ่มวัยกินผัก ผลไม้ไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ยังพบกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญของการบริโภคผักผลไม้ที่ไม่เพียงพอได้แก่กลุ่มเด็กคนโสดคนที่มีการศึกษาน้อยคนทำงานบริษัทคนที่ไม่มีรายได้และคนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
สำหรับการเข้าถึงผักและผลไม้ พบว่า คนที่กินผักและ ผลไม้เพียงพอ เน้นซื้อด้วยตนเองและมาจากการปลูกผัก/ผลไม้กินเองที่บ้านส่วนคนที่กินผักผลไม้ไม่เพียงพอเน้นให้คนอื่นซื้อให้โดยแหล่งซื้อผักผลไม้บ่อยที่สุดคือตลาดสดซึ่งกลุ่มที่กินผักและผลไม้เพียงพอเน้นสนับสนุนนโยบายรณรงค์ให้กินต้นไม้กินได้และนโยบายปลูกผักสวนครัวกินเองขณะที่กลุ่มที่กินผักและผลไม้ไม่เพียงพอเน้นสนับสนุนนโยบายด้านราคาและความปลอดภัยจะเห็นได้ว่าการมีความรู้อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้คนกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้นการส่งเสริมการปลูกผักผลไม้กินเองเป็นช่องทางสำคัญที่จะส่งเสริมให้คนหันมากินผักและผลไม้มากขึ้นรวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานโรงเรียนมหาวิทยาลัยให้เอื้อต่อการเข้าถึงผักและผลไม้มากขึ้นนอกจากนี้ตลาดสดเป็นแหล่งสำคัญที่ควรสนับสนุนต่อยอดเพื่อเอื้อให้คนเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพและผักผลไม้หลากหลายได้มากขึ้น
ข้อมูลจากเอกสารจับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2563 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)