LIFESTYLE

28 ตุลาคม 2565 : 15:42 น.

ไขข้อข้องใจ! โบรกเกอร์ คือใคร ทำไมอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

ในหลายครั้งเมื่อเป็นเรื่องของการลงทุน เรามักได้ยินชื่อของโบรกเกอร์ โดยที่ไม่รู้ว่าคืออะไร ซึ่งโบรกเกอร์ คือนายหน้า หรือ บริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง และให้คำแนะนำในการซื้อขายหุ้น โดยจะมีหน้าที่ดูแลเรื่องเงินทอง ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้กับลูกค้า ทั้งลูกค้าบุคคลและองค์กรธุรกิจ

หน้าที่การทำงานของโบรกเกอร์ คืออย่างไร

  • หาข้อมูลการทำงานโดยการอัปเดตข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก
  • ติดต่อเทรดเดอร์ หรือ ลูกค้า เพื่อทำการพูดคุย อัปเดตข้อมูล และให้คำปรึกษา คำแนะนำในการลงทุน หรือ บริการ 
  • ดูแลเรื่องการเงิน ทั้งการเปิดบัญชี การจ่ายเงินชำระค่าลงทุน หรือ บริการ และส่งมอบหลักทรัพย์ให้กับลูกค้า
  • พร้อมจะพูดคุยกับลูกค้าเมื่อมีปัญหา  

การเลือกโบรกเกอร์ที่ดี และถูกใจ

  • ต้องเป็นโบรกเกอร์ที่ถูกกฎหมาย คือไม่ใช่โบรกเกอร์เถื่อน โดยทุกคนในบริษัท ตั้งแต่ผู้บริหาร นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ไปจนถึงผู้ติดต่อกับนักลงทุน ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้สามารถประกอบอาชีพได้ เหมือนกับอาชีพหมอ หรือ วิศวกร ที่ต้องมีใบอนุญาตในการทำงาน
  • ดูว่าระบบการบริหารงานของโบรกเกอร์เจ้านั้นเป็นอย่างไร รวมถึงดูประสบการณ์ของ และเจ้าที่ที่ติดต่อว่ามีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจหลักทรัพย์แค่ไหน เจ้าหน้าที่ที่ติดต่อด้วยมีความรู้ความชำนาญ และสามารถตอบข้อสงสัยได้ดีแค่ไหน และต้องมีการซื้อขายผ่านออนไลน์อย่างได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ 
  • มีฐานะการเงินมั่นคง มีผลการดำเนินงานดี และมีสินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนเงินสดได้ และหากโบรกเกอร์เกิดปัญหาทางการเงิน ก็สามารถมีจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการชำระคืนให้แก่ลูกค้า โดยดูได้จากตัวเลข เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (Net Capital Rule : NCR) ในรายงานประจำปีของแต่ละโบรกเกอร์ ซึ่งต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดไว้
  • บทวิเคราะห์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ออกมาเพื่อให้นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจ แต่หลายครั้งที่นักลงทุนซื้อหุ้นตามบทวิเคราะห์โดยพุ่งไปที่ราคา แต่กลับไม่เป็นไปตามคาด ซึ่งส่งผลให้บทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์นั้นดูไม่น่าเชื่อถือ แต่จริง ๆ แล้วคือในการจะตัดสินใจว่าโบรกเกร์ไหนดี หรือ ไม่ดี เราควรอ่านบทวิเคราะห์ของแต่ละโบรกเกอร์อย่างละเอียดถึงประเด็นการลงทุนว่าโบรกเกอร์ต้องการบอกเล่าในเรื่องอะไร
  • ค่าธรรมเนียมเหมาะสม ก่อนตัดสินใจอย่าลืมพิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียมที่โบรกเกอร์เรียกเก็บด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็นต์จากมูลค่าการซื้อขายในแต่ละครั้ง แต่อาจกำหนดเป็นค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ เช่น 50 บาท หรือ 200 บาท 
  • เลือกที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ ต้องดูว่าโบรกเกอร์นั้นมีความเชี่ยวชาญในด้านไหน เพราะหากชอบการซื้อขายต่อหน้า ก็ต้องดูเรื่องทำเลที่ตั้งของโบรกเกอร์ว่าสะดวกในการเดินทางมากน้อยแค่ไหน
  • การบริการหลังการซื้อขายมีความสำคัญในการประกอบการติดสินใจ โดยติดต่อสอบถามได้จากโบรกเกอร์โดยตรง ดูการรับเงิน และการติดตามผลประโยชน์หลังการขาย

ข่าวที่น่าสนใจ