ความหวังสำหรับผู้สูบบุหรี่ในวันงดสูบบุหรี่โลก
คณะกรรมการพิเศษด้านการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง (Special Committee on Beating Cancer (BECA) ของรัฐสภายุโรปเรียกร้องให้สหภาพยุโรป (EU) มีการดำเนินการที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรคมะเร็ง ซึ่งรวมถึงการพิจารณาบทบาททางเลือกของผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบไร้ควันในการช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ได้* ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้มีขึ้นหลังได้มีการศึกษารายงานของ Public Health England ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสาธารณสุขชั้นนำของสหราชอาณาจักร ที่แสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่
รัฐสภายุโรปจึงถือเป็นสภานิติบัญญัติแห่งแรกในโลกที่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่า การลดอันตรายจากยาสูบ (Tobacco Harm Reduction) เป็นกลยุทธ์ด้านสาธารณสุข และเป็นมาตรการล่าสุดจากฝั่งยุโรปที่ให้ความหวังแก่ผู้สูบบุหรี่ที่พยายามลดอันตรายจากบุหรี่ให้กับตัวเอง
จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชากรชาวไทยในปี พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) แสดงให้เห็นว่าผู้สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่ 5.1 ล้านคน ไม่เคยหรือไม่อยากเลิกบุหรี่ ขณะที่ 4.7 ล้านคนพยายามเลิกบุหรี่อย่างน้อย 1 ครั้งไปจนถึง 5 ครั้งขึ้นไป โดยราว 60% มีความตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม การศึกษาโดยกรมควบคุมโรค ของแคนาดาในปี พ.ศ. 2559 ชี้ให้เห็นว่าผู้สูบบุหรี่อาจต้องพยายามเลิกบุหรี่มากถึง 30 ครั้งก่อนที่จะประสบความสำเร็จ** จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้สูบบุหรี่ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อให้พวกเขาเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ หรือมีผลิตภัณฑ์อื่นที่มาทดแทนการสูบบุหรี่ได้
ความสำเร็จของสหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ ในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ ส่งผลให้สถาบันเศรษฐกิจ (IEA) ไม่สนับสนุนการใช้กฎระเบียบเข้มงวดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยความเสี่ยงให้กับผู้สูบบุหรี่ เช่น ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน และบุหรี่ไฟฟ้า โดยทาง IEA ให้เหตุผลว่าผลิตภัณฑ์ทางเลือกเหล่านี้เป็นตัวช่วยที่ทำให้จำนวนผู้สูบบุหรี่ลดน้อยลง***
ประเด็นสำคัญจากรายงานนี้คือ การไม่ควรใช้แนวทางการควบคุมที่เข้มงวดจนเกินไป เช่น ในประเทศออสเตรเลียที่ต้องมีใบสั่งแพทย์เท่านั้นหากต้องการซื้อบุหรี่ไฟฟ้า และไม่ได้หมายความว่าควรให้ปล่อยให้มีการใช้อย่างเสรีได้ แต่ควรมีการควบคุมอย่างเหมาะสม และควรมีการประเมินความเสี่ยง ทั้งความเสี่ยงทางตรงและทางอ้อมให้มีความสมดุลมากขึ้น
มูลนิธิวิจัยโรคมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร (Cancer Research UK) ยอมรับว่า “ความอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้ามีความใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์สำหรับการให้นิโคตินทดแทน (NRT)”
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังมีการถกเถียงกันว่าบุหรี่ไฟฟ้าควรถูกกฎหมายหรือไม่ เมื่อยังมีความคิดเห็นและงานวิจัยจากทั้งสองฝ่ายที่ไม่สอดคล้องกัน สหภาพยุโรปจึงอาจเป็นตัวอย่างและใช้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกเพื่อรวมกลยุทธ์การลดอันตรายจากยาสูบไว้ในกฎหมายควบคุมยาสูบ ด้วยกฎระเบียบที่เหมาะสม แทนการออกกฎหมายสั่งห้าม เพราะทางเลือกเหล่านี้จะเป็นโอกาสด้านสาธารณสุขที่มีคุณค่าสำหรับผู้สูบบุหรี่ ไม่เช่นนั้นเราต่องเห็นคนไทยกว่า 70,000 คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั้งที่เราสามารถช่วยผู้สูบบุหรี่เหล่านั้นให้มีทางเลือกทีดีกว่าการสูบบุหรี่ต่อไปได้ถ้าเขาเหล่านั้นยังตัดสินใจที่จะไม่เลิกสูบบุหรี่และยังจะสูบบุหรี่ต่อไป
อ้างอิง
* https://nation.com.pk/2022/04/26/tobacco-harm-reduction-and-growing-support/
** https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4908897/
*** https://www.cityam.com/think-tank-warns-vape-bans-cause-more-harm-than-good/